กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ในตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2524-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 29 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวฆูลียะห์แวอาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะแก้วกรอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.213,101.414place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2560 29 ธ.ค. 2560 23,000.00
รวมงบประมาณ 23,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ยังคงเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องและยาวนาน กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมามีความแตกต่างที่หลากหลายและมีการปรับกลยุทธ์กันมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสาธิตอาหาร การจ่ายอาหารเสริม การเยี่ยมการติดตาม เป็นต้น แต่กระบวนการหรือวิธีการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กมีสาเหตุปลายประการเช่น ปัญหาด้านความรู้เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม สรีระภาพการเจ็บป่วยต่างๆและสภาพภูมิอากาศ ล้วนเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเด็กที่จะทำให้มีพัฒนาการไม่สมวัยในที่สุดก็จะเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กอย่างต่อเนื่อง การร่วมมือกันของชุมชนในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กและค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น นั้น ผู้มีบทบาทสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. สมาชิก อบต. ผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ผู้ปกครองเด็กที่ร่วมในการลดปัญหาการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ให้ลดลงและหมดไป จากข้อมูลในปี 2559 การชั่งน้ำหนักเด็ก 0-72 เดือน จำนวน 365 ราย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พบว่าเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ 4.38 และมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักน้อยกว่่าเกณฑ์ จำนวน 35 รายคิดเป็นร้อยละ 9.58 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงมีแนวคิดใช้พื้นที่ดังกล่าว นำร่อง ดูแบชุมชนโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใช้กระบวนการประชาคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยังยืน เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

เด็กที่ขาดสารอาหารได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

เด็กในพื้นที่ตำบลกาหลงได้รับการดูแลไม่ขาดสารอาหารลดลง

3 เพื่อให้ชุมชนได้วิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ร่วมกันแก้ไขปัญหา

ดูจากความร่วมมือของชุมชนว่าให้ความร่วมมือในการร่วมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ค. 60 - 29 ธ.ค. 60 ร่วมใจเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในการเด็กอายุ 0-72 เดือนในตำยบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2560 40 23,000.00 -
รวม 40 23,000.00 0 0.00

1.จัดทำประชาคมโดยผู้เข้าร่วมประชาคมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ปกครองเด็กขาดสารอาหารผู้นำชุมชน อสม. สมาชิก อบต. และผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ผู้เข้าร่วมประชาคมร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขโดยวิธีการวินิจฉัยชุมชน 1.2 สรุปเนื้อหาในการทำประชาคมความต้องการ และวิธีการนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2. จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 จัดกลุ่มผู้ปกครองเด็กในพื้นที่ออกเป็นหมู่ ๆ ละ 1 กลุ่มแต่ละกลุ่มมีเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง 2.2 กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.3 นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งสรุปผลที่ได้ของแต่ละกลุ่ม 2.4 สรุปภาพรวมแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ปกครองเด็กทั้ง 4 กลุ่ม 3. กิจกรรมการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็ก 0-72 เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการ 3.1 ให้ อสม. ในพื้นที่ติดตามให้เด็กอายุ 0-72 เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการชั่งน้ำหนักทุก 1 เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้า 3.2 ในรายที่น้ำหนักไม่เพิ่มเลยทั้ง 3 เดือนส่งพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพการเจ็บป่วยและดูแลรักษาที่ถูกต้อง 3.3 จัดประกวดเด็กที่มีภาวะโภชนาการดีชึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือนติดต่อกัน 4. สรุปผลการดำเนินโครงการรและนำผลที่ได้ขยายผล สู่การปฏิบัติในระดับหมู่บ้านและชุมชน 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองเด็ก 0-7 เดือน มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการในรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ชุมชนสามารถวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่งผลให้เด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างสมวัยและต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 13:27 น.