โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
ชื่อโครงการ | โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ |
รหัสโครงการ | 63-L3330-1-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ |
วันที่อนุมัติ | 10 กันยายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 กันยายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ธันวาคม 2563 |
งบประมาณ | 70,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุขสันติื ชูสุวรรณ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้งคง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 2850 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า๑๕ ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุ และขยะที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่ตำบลโคกสัก โดยเฉพาะในพื้นที่ให้บริการของรพ.สต.บ้านหนองบ่อ ๔ หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล ๕ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรตามลำดับดังนี้๖๑.๐๕, ๑๔๙.๓๙, ๕๘.๔๑, ๘๖.๕๐และ๑๑๓.๗๓ ค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี เท่ากับ ๙๓.๙๔ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖๓ มีรายงานจำนวนผู้ป่วย ตั้งแต่ ๑ มค. ๒๕๖๓ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จำนวน ๗ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑๙๘.๓๐ โดยพบในหมู่ที่ ๑ จำนวน ๑ ราย , หมู่ที่ ๕ จำนวน ๕ ราย รวมจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๒๖.๖๓ ต่อแสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง๕ ปีถือว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประกอบกับการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน วัดและโรงเรียน ที่เกิดโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๓พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(HI) เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน มากกว่าร้อยละ ๒๐ และค่า CIมากกว่าร้อยละ ๑๐ ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ๑.๑ ทุกครัวเรือนในเขตให้บริการ ๔ หมู่บ้าน ค่าดัชนีลูกน้ำยุงยาย ค่า HI ≤ ๑๐ ๑.๒ โรงเรียน จำนวน ๓ โรง , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ ศูนย์ และวัด จำนวน ๑ แห่ง มีค่าดัชนีลูกน้ำยุง CI = ๐ |
0.00 | |
2 | ๒. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกินค่ามัฐยฐานย้อนหลัง ๕ ปี |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 70,250.00 | 0 | 0.00 | |
25 - 26 ส.ค. 63 | ๓.จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก ๕ ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม | 0 | 14,200.00 | - | ||
21 ก.ย. 63 | ๑ แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ | 0 | 0.00 | - | ||
24 ก.ย. 63 - 24 ส.ค. 63 | ๒.ประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการแก่คณะทำงาน และประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | 0 | 2,470.00 | - | ||
27 ก.ย. 63 - 28 ส.ค. 63 | ๔ คณะทำงานออกรณรงค์ตามโครงการ และตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ ๑ เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย | 0 | 46,580.00 | - | ||
20 - 21 ต.ค. 63 | ๕ ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ ๒ เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของทุกครอบครัว และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย | 0 | 3,500.00 | - | ||
20 - 21 พ.ย. 63 | ๖ ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ ๓ เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของทุกครอบครัว และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย | 0 | 3,500.00 | - |
๑ อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี ๒. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ๓ ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 00:00 น.