โครงการ เด็กอายุ o-๕ ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการ เด็กอายุ o-๕ ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย |
รหัสโครงการ | 63-l2516-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.มือและห์ |
วันที่อนุมัติ | 21 สิงหาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 16,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.มือและห์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลวาหะ ดุลยพินิจ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.434,101.507place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 108 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน และจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 1.69 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี กว่าร้อยละ 5๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
เพื่อให้การดูแลพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแล ประเมินแก้ไขพัฒนาการ เฝ้าระวังด้านพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อเพื่อการรักษาในรายที่มีปัญหา เพื่อให้เด็กวัยดังกล่าวมีพัฒนาการที่สมวัย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ เห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการ เด็กอายุ o-๕ ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ และสามารถทดสอบพัฒนาการของเด็กได้ 2. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่วัยและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ 3. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ๔. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการสงสัยล่าช้า ๕. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก o-๕ ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องพัฒนาการเด็ก โภชนาการเด็ก วัคซีนและผู้ปกครองสามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กเองที่บ้านได้
๒. ร้อยละ ๙๕ ของเด็กอายุ 9,18, 30,๔๒ และ ๖o เดือน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการเด็ก
3. ร้อยละ ๑oo ของเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นส่งต่อโรงพยาบาลทันที
๔. ร้อยละ ๘o เด็กอายุo-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีโภชนาการที่ดีขึ้น |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.ชี้แจงกลุ่มเป้าหมายให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านในแต่ละเขตรับผิดชอบเข้าร่วมโครงการ
๒.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองเด็ก พร้อมอบรมฟื้นฟูความรู้ ดังนี้
- เรื่อง การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM)ตามช่วงอายุเด็ก o – 5 ปี
- เรื่อง ส่งเสริมโภชนาการเด็ก ตามช่วงอายุ
- เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยวัคซีน
( ๑ วัน)
๑. เด็กอายุ o – ๕ ปีทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการโดยใช้เครื่องมือ DSPM
๒. เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และส่งต่อโรงพยาบาลทันที
๓. ผู้ปกครองเด็กสามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง
1. ๔. เด็กอายุ o-๕ ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๙o
๕.ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการเด็ก o-๕ ปี และวัคซีน
ร้อยละ ๘o
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2563 16:06 น.