กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมความปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงในกลุ่มสานเสื่อกระจูดตำบลโคกเคียน
รหัสโครงการ 63-L2492-2-47
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสานเสื่อกระจูดตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กันยายน 2563 - 25 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 38,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอภินันท์ เปาะอีแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในตำบลโคกเคียนมีกลุ่มที่เป็นแรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสานเสื่อกระจูดที่ทำเป็นทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลัก ประมาณ 300 ครอบครัว การสานเสื่อกระจูดเป็นวิถีชาวบ้าน ภูมิปัญญาของคนในชุมชนที่มีการถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จากที่ได้มีเวทีให้กลุ่มตัวแทน 13 ชุมชน ผู้เข้าร่วม 40 คน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความเสี่ยง อันตรายจากการทำงาน เช่น การตากแห้ง ที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นหรือเชื้อรา การย้อมสี โดยเฉพาะสีมีการผสมสารตะกั่ว ซึ่งมีการสูดดมตลอดระยะเวลาของการต้ม การเทน้ำทิ้งลงดินหลังจากการย้อมเสร็จ ตลอดจนช่วงของการจักสาน เช่น ท่าทางในการนั่งทำงานที่ต้องก้มตลอดเวลาและการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นว่าลักษณะของงานที่ทำยังคงมีความเสี่ยงและส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในระยะยาว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังขาดการป้องกัน การขาดความรู้ ความตระหนักในการป้องกันโรค ดังนั้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรครวมถึงการสร้างเสริมความปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานให้กับกลุ่มสานเสื่อกระจูด จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานของกลุ่มสานเสื่อกระจูด

กลุ่มสานเสื่อกระจูดได้รับการสร้างเสริมความปลอดภัยและลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน  ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานของกลุ่มสานเสื่อกระจูด

กลุ่มสานเสื่อกระจูดมีการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน  ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 38,200.00 6 38,200.00
15 - 16 ก.ย. 63 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในชุมชน 0 8,200.00 8,200.00
17 ก.ย. 63 - 22 ธ.ค. 63 สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนประวัติ จากแบบประเมินปัญหาความเสี่ยง อันตรายจากการทำงานสานเสื่อกระจูดก่อนและหลังการดำเนินโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
21 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้การสร้างเสริมความปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานให้กับกลุ่มสานเสื่อกระจูด โดยอาสาสมัครอาชีว อนามัย (อสอช.) ที่ผ่านการอบรมฯ 50 5,750.00 5,750.00
21 ก.ย. 63 - 21 ธ.ค. 63 จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการทำงาน 0 16,000.00 16,000.00
21 ก.ย. 63 - 21 ธ.ค. 63 5. สร้างนวัตกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานเป็นระยะเวลานาน (ยางยืดบริหารร่างกาย) 0 2,250.00 2,250.00
23 ธ.ค. 63 ถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการฯ 0 5,000.00 5,000.00
  1. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในชุมชน
  2. สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนประวัติ จากแบบประเมินปัญหาความเสี่ยง อันตรายจากการทำงานสานเสื่อกระจูดก่อนและหลังการดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ ที่จัดทำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย และอาจารย์กนกวรรณ หวนศรี จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยในชุมชน
  3. จัดอบรมให้ความรู้ การสร้างเสริมความปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานให้กับกลุ่มสานเสื่อกระจูด โดยอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ที่ผ่านการอบรมฯ
  4. จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน
  5. สร้างนวัตกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงานในระยะเวลานาน โดยการใช้ยางยืดในการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการปวดต้นคอและปวดหลัง และการนวดผ่อนคลายในช่วงพัก (รวม 30 นาที) ทุกๆ 2 ชั่วโมงในการทำงาน
  6. ถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสานเสื่อกระจูด มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคจากการทำงาน
  2. กลุ่มสานเสื่อกระจูด เกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง เพื่อลดภาวะเสี่ยงและอันตรายจากการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 10:59 น.