กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5310-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 72,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะกล้า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.926448,99.832184place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 72,000.00
รวมงบประมาณ 72,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
10.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
20.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
22.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ /แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๒ และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนฯ ในรูปแบบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชน

สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนฯ สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฯบรรลุวัตถุประสงค์ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวขึ้นเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ และกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนฯ ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้ง รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ และระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ว่าด้วยเรื่องการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว พ.ศ.๒๕๖๑ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ผ่านโครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า ๙๐ % ของเงินรายรับกองทุนฯ

90.00 90.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ

22.00 22.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพ

กลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

10.00 10.00
4 เพื่อให้โครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จทันเวลา

ร้อยละของจำนวนโครงการทั้งหมดที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จทันเวลา

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,000.00 0 0.00
1 - 31 ต.ค. 63 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย 0 11,250.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้ง/ปี 0 40,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 0 7,650.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล 0 4,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดซื้อครุภัณฑ์ที่จำเป็น , ประชาสัมพันธ์กองทุน , ค่าใช้การในการเดินทางไปราชการ เข้าร่วมประชุม/อบรมที่เกี่ยวข้องกับงานกองทุนฯ(ค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก ค่าเดินทาง เป็นต้น) 0 7,500.00 -

ขั้นเตรียมการ
๑.จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการและงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนฯ ๒.แจ้งคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขั้นดำเนินการ ๑.ดำเนินการตามกิจกรรม   กิจกรรมที่ ๑ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้อง   กิจกรรมที่ ๒ ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา จำนวน ๔ ครั้ง/ปี   กิจกรรมที่ ๓ ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรอง แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมกองทุนฯ จำนวน ๒ ครั้ง / ปี   กิจกรรมที่ ๔ ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมกองทุนฯ จำนวน 1 ครั้ง   กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดซื้อครุภัณฑ์ที่จำเป็น , ประชาสัมพันธ์กองทุน , เข้าร่วมประชุม/อบรมที่เกี่ยวข้องกับงานกองทุนฯ

ขั้นสรุปผลและประเมินผล ๑.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีการใช้เงินสนับสนุนให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆที่ขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการด้านสุขภาพ ๒. คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกองทุน ๓. การรายงานผลการดำเนินโครงการได้สำเร็จและทันเวลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2563 09:16 น.