กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5282-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
80.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก รวมทั้งมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศไทยและแพร่ระบาดไปเกือบทุกจังหวัดจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศมาเลเซียด่านท่าเรือตำมะลังอ.เมืองสตูลและด่านวังประจันอ.ควนโดน องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 67 อนุมาตรา 3 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับพระราชบัญญัติแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 อนุมาตรา 19 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้(๑๙)การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมแผนรับแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียเดินทางกลับประเทศไทย วันละ 100 คน ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2563 ทางด่านท่าเรือตำมะลัง อ.เมืองสตูล และด่านวังประจันอ.ควนโดน รวมทั้งประชาชนในตำบลอุใดเจริญเดินทางกลับมาจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงด้วย ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด และไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญจัดให้มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในเขตพื้นที่ตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญจำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้จัดให้มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน ก่อนกลับซึ่งในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญมีผู้ที่มาจากต่างประเทศและมาจากจังหวัดอื่นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจึงเห็นควรร่วมดำเนินการร่วมกันระหว่างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน หมู่ที่ 1 – 9 ตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูล โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ดำเนินการจัดการที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ สถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน ทุกหมู่บ้านในตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ขององค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 9 ต.อุใดเจริญ โครงการป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด 19 (COVID - 19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสริมมาตรการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๙๐

80.00 90.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด – ๑๙

90.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 250,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการสื่อสารเรื่องโควิด – ๑๙ 0 30,414.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนับสนุนอุปกรณ์ และพัฒนาทักษะความสามารถของเครือข่ายและชุมชน 0 27,100.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-๑๙ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หน่วยงานและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ 0 191,886.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 ติดตามประเมินโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน 0 600.00 -

๑. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารเรื่อง“โควิด-19” และขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

๒. สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนับสนุนอุปกรณ์ และพัฒนาทักษะความสามารถของเครือข่ายและชุมชน

๓. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-๑๙ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หน่วยงานและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

๔. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนได้รับความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด – ๑๙
๒. ชุมชนมีมาตรการในการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2563 15:23 น.