กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ

หมู่ที่ 1 - หมู่ที่ 9 ต.อุใดเจริญ , สวนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านไร่สาธิต, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ, โรงเรียนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ, องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

80.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

90.00

ด้วยสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก รวมทั้งมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศไทยและแพร่ระบาดไปเกือบทุกจังหวัดจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศมาเลเซียด่านท่าเรือตำมะลังอ.เมืองสตูลและด่านวังประจันอ.ควนโดน องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 67 อนุมาตรา 3 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับพระราชบัญญัติแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 อนุมาตรา 19 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้(๑๙)การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
เพื่อเตรียมความพร้อมแผนรับแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียเดินทางกลับประเทศไทย วันละ 100 คน ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2563 ทางด่านท่าเรือตำมะลัง อ.เมืองสตูล และด่านวังประจันอ.ควนโดน รวมทั้งประชาชนในตำบลอุใดเจริญเดินทางกลับมาจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงด้วย ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด และไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญจัดให้มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในเขตพื้นที่ตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญจำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้จัดให้มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน ก่อนกลับซึ่งในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญมีผู้ที่มาจากต่างประเทศและมาจากจังหวัดอื่นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจึงเห็นควรร่วมดำเนินการร่วมกันระหว่างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน หมู่ที่ 1 – 9 ตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูล โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ดำเนินการจัดการที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ สถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน ทุกหมู่บ้านในตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ขององค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 9 ต.อุใดเจริญ โครงการป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด 19 (COVID - 19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสริมมาตรการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๙๐

80.00 90.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด – ๑๙

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 700
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. จิตอาสา 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการสื่อสารเรื่องโควิด – ๑๙

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการสื่อสารเรื่องโควิด – ๑๙
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันโควิด-๑๙ (การล้างมือ การปิดหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนส่วนตัว การดูแลรักษาความสะอาด) เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน
เป้าหมาย

- พื้นที่หมู่ที่ ๑ – ๙ จำนวน ๒๔ ผัง

  • ศพด.ในสังกัด จำนวน ๕ ศูนย์

  • โรงเรียนในพื้นที่ จำนวน ๕ โรง

  • วัดในพื้นที่ จำนวน ๔ วัด

  • อบต.อุใดเจริญ

รวม ๓๙ จุด

รายละเอียดงบประมาณ

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันโควิด-๑๙ (การล้างมือ การปิดหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนส่วนตัว การดูแลรักษาความสะอาด) เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน

  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ขนาด ๑.๒ x ๒.๕ เมตร จำนวน ๓๙ ป้าย เป็นเงิน ๑๗,๕๕๐ บาท

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตรx ๒ ป้าย เป็นเงิน ๘๖๔ บาท

  • ค่ารถแห่ประชาสัมพันธ์ วันละ ๑,๐๐๐ บาท x ๑๐ วัน x ๑ คันเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท

รวมเงิน28,๔๑๔ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด - 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28414.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนับสนุนอุปกรณ์ และพัฒนาทักษะความสามารถของเครือข่ายและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนับสนุนอุปกรณ์ และพัฒนาทักษะความสามารถของเครือข่ายและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑ การจัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

๒.๒ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง

๒.๓ การจัดทำมาตรการชุมชนในการป้องกันโควิด – ๑๙

  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบมือถือ จำนวน ๑๐ เครื่อง x ๑,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท

  • ค่าเอกสารคู่มือ จำนวน ๑๐๐ ชุด x ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท

  • ค่าถ่านไฟอัลคาไลน์ ขนาด ๓A จำนวน ๖๐ แพ็ค x ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด - 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27100.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-๑๙ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หน่วยงานและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-๑๙ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หน่วยงานและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑ การจัดเตรียมสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด- จุดกักกัน สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ

๓.๒ การสร้างสภาพแวดล้อม จัดเตรียมอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคโควิด-๑๙ ให้กับชุมชน หน่วยงานและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบล อุใดเจริญ

เป้าหมาย

- ศูนย์กู้ชีพ กู้ภัย สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน ๕ ศูนย์
- วัดในพื้นที่ จำนวน ๔ วัด
- มัสยิดในพื้นที่ จำนวน ๓ แห่ง

  • อบต.

รวม ๑๔ แห่ง

๓.๑ การจัดเตรียมสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้กักตัว มื้อละ ๕๐ บาท x ๓ มื้อ x ๑๔ วัน x ๓๐ คน เป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาท

  • ค่าซักผ้า จำนวน ๓๐ ครั้งๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท

  • ค่าชุดอุปกรณ์เครื่องนอน (หมอน มุ้ง ที่นอน ปลอกหมอน) จำนวน ๑๐ ชุด x ๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท

  • ค่าอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงดำ ถุงสีแดง เชือกฟาง น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดพื้น เป็นต้น เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท

๓.๒ การสร้างสภาพแวดล้อม จัดเตรียมอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคโควิด-๑๙ ให้กับหน่วยงาน ชุมชนและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

  • ค่าเครื่องกดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือแบบเท้าเหยียบพร้อมป้าย จำนวน ๑๕เครื่อง x ๗๐๐ บาทเป็นเงิน ๑๐,๕๐๐ บาท

  • เครื่องวัดอุณหภูมิพร้อมขาตั้ง จำนวน ๗ เครื่อง x 3,๕๐๐ บาท เป็นเงิน 24,๕๐๐ บาท

  • ค่าแอลกอฮอล์ ๗๐ % ขนาด ๕๐๐ มล. จำนวน ๖๐ ขวด x ๖๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท

  • ค่าเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ขวด ๔๕๐ มล.จำนวน ๑๐๐ ขวดx 7๐ บาท เป็นเงิน 7,๐๐๐ บาท

  • ค่าหน้ากากอนามัยผ้าสำหรับเด็ก ๒ – ๖ ขวบ พร้อมสายคล้องคอ จำนวน ๗๐๐ อัน x ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒๔,๕๐๐ บาท

  • หน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียวสำหรับผู้ใหญ่ จำนวน ๒๐๐ กล่อง x ๑๒๕ บาท เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท

  • ค่าป้ายไวนิลประกาศ/มาตรการ x-stand พร้อม ขาตั้ง ขนาด ๑๘๐ x ๒๐๐ ซม. จำนวน ๑ ป้ายเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท

  • ค่าป้ายไวนิลมาตรการควบคุมโควิด – ๑๙ขนาด

๑ x ๑.๕๐ เมตร x ๓ ป้าย เป็นเงิน ๖๗๕ บาท

  • ค่าอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ขวดเปล่าพร้อมหัวสเปรย์ น้ำยาฆ่าเชื้อท่อ pvc แผ่นใส เป็นต้น เป็นเงิน ๑4,๑๑๑ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด - 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
193886.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสาร รายงานผลการดำเนินงาน จำนวน ๒ เล่ม x ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๖๐๐ บาท

รวมเงิน ๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด - 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 250,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19
2. พื้นที่ตำบลอุใดเจริญ มีมาตรการชุมชนและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรคโควิด-19 และชุมชนมีความเข้มแข็ง
3. มีนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโรคโควิด-19


>