กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างและประเมินสมรรถภาพทางกายและจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชาชนเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างและประเมินสมรรถภาพทางกายและจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชาชนเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 64-L3331-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.บางแก้ว
วันที่อนุมัติ 15 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัชกร สุทธิดาจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
60.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดแผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมการมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาดังคำที่ว่า “อโรคยา ปรมา ลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐซึ่งทุกวันนี้ประชาชน ได้หันมาดูแลตนเองโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเช่น การออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด เลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญจะต่อสู้กับสภาวะเศรษฐกิจและสภาพสังคมที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จะทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพทางกายและจิตที่ดี
จากข้อมูลภาวะสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ ปี2561-2563 พบ อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง 749.23, 763.08, 733.85 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ อัตราป่วยโรคเบาหวาน 349.23,338.46,296.92 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากการคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 395,380,135คน ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 208,260,304 คน ตามลำดับ สถานการณ์แนวโน้มจะมีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. ที่ไม่เหมาะสม ในเรื่องการออกกำลังกายเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อได้ส่งเสริมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ให้ประชาชนได้ออกกำลังกายหลายรูปแบบตามความเหมาะสมแต่ยังขาดการประเมินผลภาวะสุขภาพของแต่ละคนและยังมีบางกลุ่มยังไม่เข้าถึงกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ดังเหตุผลที่กล่าวมาโรงพยาบาลบางแก้วร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างและประเมินสมรรถภาพทางกายและจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อปีงบประมาณ 2564 อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรม ๓ อ. ๒ ส. ที่ถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีพฤติกรรม ๓ อ. ๒ ส. ที่ถูกต้องเหมาะสม

60.00 80.00
3 เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิตของประชาชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อปรับตัวในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่า เหมาะสม

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรม ๓ อ. ๒ ส. ที่ถูกต้องเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิตของประชาชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ 600.00 -
15 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 คัดกรองและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มออกกำลังกาย 600.00 22,400.00 -
15 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประเมินสมรรถภาพร่างกาย/ จิตใจ 7,000.00 -
22 ธ.ค. 64 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่ ๑ ขั้นตอนการวางแผน (Plan)     ๑.๑ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ๑.๒ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณและดำเนินการ
๑.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ๑.๔ ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในแผนการจัดกิจกรรม
๑.๕ ประสานงานและจัดเตรียมความพร้อม   ขั้นที่ ๒ ขั้นตอนการปฏิบัติ (DO)
      ๒.๑ ดำเนินการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในแผนการจัดกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง กิจกรรมที่ 2 คัดกรองและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มออกกำลังกายทั้งหมด 4 กลุ่ม
กิจกรรมที่ 3 ประเมินสมรรถภาพร่างกาย/จิตใจกลุ่มออกกำลังกายทั้งหมด 4 กลุ่ม กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่และกลุ่มออกกำลังกายทั้งหมด 4 กลุ่ม
  ขั้นที่ ๓ ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
      ๓.๑ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อนำปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น       ๓.๒ หลังจากสิ้นสุดโครงการ มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ โดยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจและความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อหาข้อดีและข้อเสีย รวมถึงข้อเสนอแนะในการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ   ขั้นที่ ๔ ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม (Act)
      ๔.๑ นำปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ และผลจากการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ ประจำเดือนมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานกิจกรรมให้เหมาะสมกว่าเดิม
      ๔.๒ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการเพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรม และนำปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม 2.กลุ่มเป้าหมายมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อปรับตัวในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2563 11:15 น.