กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-12 เลขที่ข้อตกลง 4/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2564-L3351-01-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 12 ตุลาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4,300.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทย ในปี 2562 สมาคมโรคไตคาดการณ์ว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน รอการผ่าตัดไตใหม่ประมาณ 40,000 คน ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเพียงปีละ 400 รายเท่านั้น มีผู้เสียชีวิตจากไตวาย ปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องมีการใช้งบประมาณถึง 3 พันล้านบาท ปัจจุบันภาครัฐให้สิทธิประชาชนทุกคนในการฟอกไตผ่านช่องท้องฟรี นอกจากนี้เมื่อป่วยทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เสี่ยงการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวในปีงบประมาณ 2563
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 399 คน(HDC,2563) จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อม ระยะ 1-5 จำนวน 289 คน และเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 17.30 พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี และผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องฟอกไตในอนาคตถ้ายังไม่ได้รับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคไต จำเป็นต้องชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ โดยเฉพาะระยะที่ 3 ต้องชะลอไม่ให้กลายเป็นระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 จากสถานการณ์โรคไตของผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงปี 2564 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ชะลอภาวะไตเสื่อมและป้องกันไม่ให้ไตวายอันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต
  2. เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (ไตระยะ 3)
  2. ย่องครัว ส่องเกลือ ส่องเค็ม
  3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินภาวะไตและส่งต่อ (กรณีภาวะไต กลายเป็น ระยะที่ 4 หรือ ระยะที่5)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยโรคไตระยะ3 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต ไม่น้อยกว่าร้อยละ80
  • ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5 ไม่น้อยร้อยละ 10
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (ไตระยะ 3)

วันที่ 25 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • สำรวจกลุ่มเป้าหมายจากผลการตรวจไต ปีงบประมาณ 2563
  • จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการชะลอไต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวานและโรคความดันรโลหิตสูง(ไตระยะที่ 3) จำนวน 50 คน เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฯ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้จากกิจกรรมดังกล่าว ร้อยละ 80.32 ประเด็นผู้ป่วยไตหรือผู้ดูแลยังขาดความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง คือ ผัก ผลไม้ ที่มีสีเข้ม การกินไข่ขาวเพื่อฟื้นฟูการทำงานของไต และการเลือกนมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยไต

 

0 0

2. ย่องครัว ส่องเกลือ ส่องเค็ม

วันที่ 18 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • เจ้าหน้าที่สาธารรสุขและ อสม. เยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ย่องครัว  ส่องเกลือ  ส่องเค็ม ติดตามดูเครื่องปรุงการใช้ประกอบอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่บ้านผู้ป่วยใช้เครื่องปรุง คือ ประเภทน้ำปลาและเกลือ รองลงมา ผงรสดี ซีอิ้ว ซอสปรุงรส

 

0 0

3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินภาวะไตและส่งต่อ (กรณีภาวะไต กลายเป็น ระยะที่ 4 หรือ ระยะที่5)

วันที่ 26 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ติดตามตรวจเลือดกลุ่มเป้าหมายหลังปรับเปลี่ยน
  • ส่งต่อกลุ่มป่วยไต ระยะที่ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ ระยะ  5 ไปรับการรักษาโรงพยาบาลแม่ข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการติดตามเจาะเลือดผู้ป่วยรอบที่ 2 ชะลอการเสื่อมของไต ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากระยะที่ 3 ค่าไตดีขึ้น กลายเป็นระยะ 2 จำนวน 18 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 คน คิดเป็นร้อยละ 36 อีกจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 64 ค่าไตคงยังอยู่สภาพเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตระยะ 3 ไม่กลายเป็นระยะ 4 หรือ ระยะ 5

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 เป็นการแก้ไขป้องกัน ปัญหาโรคไต ต้องการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ โดยเฉพาะระยะที่ 3 ต้องชะลอไม่ให้กลายเป็นระยะที่ 4 หรือในระยะที่ 5 ในหมู่ที่ 3 3 4 5 6 8 จำนวน 50 ราย
  • ผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมจำนวน 50 ราย ที่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย ได้พิจารณาเลือกมาจากค่าไต eGFR ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยและผู้ดูแลและเยี่ยมบ้านเพื่อแนะนำการเลือกใช้เครื่องปรุงในการทำอาหารหลังจากติดตามเจาะเลือดครั้งที่ 2 พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีค่าไตดีขึ้น กลายเป็นระยะที่ 2 จำนวน 18 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 คน คิดเป็นร้อยละ 36 อีกจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 64 ค่าไตยังคงอยู่สภาพเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไต ระยะที่ 3 ไม่กลายเป็นระยะ 4 หรือ ระยะ 5

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต ร้อยละ80
70.00 80.00 100.00

 

2 เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5
ตัวชี้วัด : ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5 ไม่น้อยร้อยละ 10
5.00 10.00 10.00

 

3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย
7.00 5.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยโรคไตระยะ3 50 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต (2) เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5 (3) เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง  (ไตระยะ 3) (2) ย่องครัว ส่องเกลือ ส่องเค็ม (3) ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินภาวะไตและส่งต่อ (กรณีภาวะไต กลายเป็น ระยะที่ 4 หรือ ระยะที่5)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด