กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-13 เลขที่ข้อตกลง 5/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2564-L3351-01-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 12,350.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดทั้งจากร่างกายของเด็ก และสภาพแวดล้อมภายนอก เด็กที่ไม่ได้รับการแก้ไขพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่แรกจะเป็นภาระต่อสังคมในระยะยาวต่อไปด้วย จากการสุ่มสำรวจสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2560พบว่า 1 ใน 4 ของเด็กทุกช่วงวัยมีพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้า โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา และพบว่า เด็กอายุ 0-6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 30 จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0-6ปี เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ 4.51 ซึ่งร้อยละ 3.44 เป็นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-6 ปี กว่าร้อยละ80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีเด็กอยู่ในช่วงอายุ 9 เดือน – 5 ปี ที่ต้องได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการ จำนวน 133 คน ได้รับการประเมินคัดกรองพัฒนาการแล้ว จำนวน 102 คน (ร้อยละ 76.69) พบว่า มีพัฒนาการไม่สมวัย ร้อยละ 34.31 เด็กทุกคนที่มีพัฒนาการไม่สมวัยต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านนั้นและติดตามประเมินฯซ้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพราะหากเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย หรือไม่ได้รับการส่งเสริมจะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของเด็กและปัญหาของครอบครัวในอนาคต จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัย
  2. เพื่อให้เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
  3. เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก
  2. อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย
  3. ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณีการยังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • รพ.สต.บ้านโคกชะงายมีข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อใช้แก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
  • ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
  • เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
  • เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. สำรวจเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ที่มีพัึฒนาการไม่สมวัย
  2. ให้ผู้ปกครองเด็กทุกคนทำแบบสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการโดยให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เลี้ยงดูเป็นผู้ตอบแบบสำรวจพฤติกรรมการเลี้ยงของเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัย

 

0 0

2. อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย

วันที่ 5 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • สำรวจเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัย
  • อบรมผู้ปกครองทุกคนเรื่องความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัย
  • ผู้ปกครองกลับไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉพาะด้านและตรวจประเมินซ้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้ปกครองเด็กทุกคนเข้ารับการอบรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
  • ผู้ปกครองเด็กทุกคนมีความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัยถูกต้องหลังการอบรมมากกว่าร้อยละ80

 

0 0

3. ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณีการยังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

วันที่ 5 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • กำหนดวัน ติดตามและตรวจพัฒนาการเด็กไม่สมวัยซ้ำ
  • ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ ( กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ
  • เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.67

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จัดทำโครงการส่งเสริมทสุขภาพอนามัยและพัฒนาการลูกน้อยสมวัยปีงบประมาณ 2564 เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการเด็กและส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านที่ไม่สมวัยเพื่อทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
  • ผลการดำเนินงานเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยตามช่วงอายุ จำนวน 30 คนจากการสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูเด็ก พบว่า ผุ้ปกครองเด็กส่วนใหญ๋มีอาชีพค้าขาย ผู้ปกครองให้เด็กดูทีวี เล่นมือถือ ยูทูป น้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน เมื่อผู้ปกครองยุ่งมีงานต้องทำส่วนใหญ่ให้เด็กเล่นของเล่นและดูทีวี เมื่อเด็กทำความดี ส่วนใหญ่ผู้ปกครองชื่นชมโดยการพูดชมและปรบมือ การชื่นชมโดยการกอดหรือสัมผัสเด็กอย่างน้อยเมื่อทำผิดผู้ปกครองส่วนใหญ่ตักเตือนและอธิบายเหตุผลมีบางครัวเรือนมีการลงโทษโดยการตี
  • เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย จำนวน 30 คน หลังจากที่ได้รับคำแนะนำและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามด้านที่ยังต้องส่งเสริมและนัดตรวจประเมินซ้ำจากการติดตามและตรวจพัฒนาการเด็กที่ไม่สมวัยซ้ำ พบว่าเด็กมรพัฒนาการสมวัย จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 และส่งต่อ รพ.พัทลุง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัย
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
70.00 80.00 80.00

 

2 เพื่อให้เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
ตัวชี้วัด : เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
65.69 80.00 80.00

 

3 เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)
ตัวชี้วัด : เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)
29.00 30.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 0
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัย (2) เพื่อให้เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย (3) เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก (2) อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย (3) ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณีการยังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด