กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรค และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่6บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรค และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่6บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 64-L3339-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 28,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออกในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2562 พบว่า มีอัตราป่วย 58.49, 211.03, 125.66, 217.25 และ 441.51 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้อัตรา 50 ต่อประชากรแสนคน ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในขุมชน (House Index :HI) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เมื่อจำแนกเป็นรายตำบลพบว่า ตำบลหารเทาที่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 52 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,202 ไร่ และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,986 คน แยกเป็นชาย 4,906 คน หญิง 5,080 คน ซึ่งในตำบลหารเทา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัญหาหลักของพื้นที่ ที่พบผู้ป่วยเกือบทุกปี โดยมีการแพร่ระบาดในปี 2561 ในหมู่ที่ 9 มี อัตราป่วย 2,680.97 ต่อแสนประชาการ ส่วนในปี 2562 ในหมู่ที่4 มีอัตราป่วย 3,918.61 ต่อแสนประชากร และใน ปี 2563 จากข้อมูล Health Data Center วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 ในหมู่ที่ 6 มีอัตราผู้ป่วย 6 ราย ซึ่งคิดเป็น 438.12 ต่อแสนประชากร จากการค้นคว้ามีการศึกษาโดยใช้แนวทางแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model :HBM) ของ Becker et al (1975) พบว่า บุคคลที่มีการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค ประโยชน์ที่จะได้รับจากการป้องกันและอุปสรรคต่อการปฏิบัติ บุคคลนั้นจะเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี จึงให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (รัศมน ศิริโชติ และคณะ, 2550) และการดำเนินงานเพื่อที่จะให้มีผลต่อพฤติกรรม อย่างแท้จริงต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการต่างๆ ร่วมกัน จากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการพบว่า การใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการมีส่วนร่วมที่มีความต่อเนื่องเป็นวงจร จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการรับรู้ความตระหนักรู้ทักษะและความมั่นใจต่อการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวจนสามารถมีพฤติกรรมปฏิบัติในด้านการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีขึ้น (เกศิณี วงศ์สุบิน และคณะ, 2559) ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงสนใจที่จะศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของแกนนำครัวเรือน

-  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70   -  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70   -  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,300.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 สำรวจข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนหมุ่ 6 บ้านโคกโหนด 0 0.00 -
1 ธ.ค. 63 - 31 ม.ค. 64 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการอบรมให้ความรู้และจัดทำโคกโหนดโมเดล 0 28,300.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 เม.ย. 64 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้โปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. หลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแกนนำครัวเรือนมีความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
    ที่ดีขึ้น
  3. หลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแกนนำครัวเรือนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
    1. แกนนำครัวเรือนมีส่วนร่วมต่อสังคมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 00:00 น.