กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรค และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่6บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรค และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่6บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรม อสม.บ้านโคกโหนด

หมู่ 6 ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออกในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2562 พบว่า มีอัตราป่วย 58.49, 211.03, 125.66, 217.25 และ 441.51 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้อัตรา 50 ต่อประชากรแสนคน ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในขุมชน (House Index :HI) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เมื่อจำแนกเป็นรายตำบลพบว่า ตำบลหารเทาที่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 52 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,202 ไร่ และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,986 คน แยกเป็นชาย 4,906 คน หญิง 5,080 คน ซึ่งในตำบลหารเทา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้น
อีกทั้งยังเป็นปัญหาหลักของพื้นที่ ที่พบผู้ป่วยเกือบทุกปี โดยมีการแพร่ระบาดในปี 2561 ในหมู่ที่ 9 มี อัตราป่วย 2,680.97 ต่อแสนประชาการ ส่วนในปี 2562 ในหมู่ที่4 มีอัตราป่วย 3,918.61 ต่อแสนประชากร และใน ปี 2563 จากข้อมูล Health Data Center วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 ในหมู่ที่ 6 มีอัตราผู้ป่วย 6 ราย ซึ่งคิดเป็น 438.12 ต่อแสนประชากร จากการค้นคว้ามีการศึกษาโดยใช้แนวทางแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model :HBM) ของ Becker et al (1975) พบว่า บุคคลที่มีการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค ประโยชน์ที่จะได้รับจากการป้องกันและอุปสรรคต่อการปฏิบัติ บุคคลนั้นจะเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี จึงให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (รัศมน ศิริโชติ และคณะ, 2550) และการดำเนินงานเพื่อที่จะให้มีผลต่อพฤติกรรม อย่างแท้จริงต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการต่างๆ ร่วมกัน จากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการพบว่า การใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการมีส่วนร่วมที่มีความต่อเนื่องเป็นวงจร จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการรับรู้ความตระหนักรู้ทักษะและความมั่นใจต่อการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวจนสามารถมีพฤติกรรมปฏิบัติในด้านการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีขึ้น (เกศิณี วงศ์สุบิน และคณะ, 2559)
ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงสนใจที่จะศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ในตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของแกนนำครัวเรือน

-  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70   -  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70   -  แกนนำครัวเรือนมีค่าคะแนนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนหมุ่ 6 บ้านโคกโหนด

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนหมุ่ 6 บ้านโคกโหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสอบข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนหมุ่ 6 บ้านโคกโหนด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการอบรมให้ความรู้และจัดทำโคกโหนดโมเดล

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการอบรมให้ความรู้และจัดทำโคกโหนดโมเดล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำป้ายโครงการ / ป้ายรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก ขนาด 2*2 เมตร จำนวน 3 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 85 คน คนละ 20 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 6,800 บาท
  • กระดาษ A4 จำนวน 6 ริม ๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 780 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 85 ชุด2,500 บาท -ค่าสเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 มล. ลังละ 840 บาท เป็นเงิน 6,720 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท ครั้งละ 3 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท -อุปกรณ์สำหรับปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ดังนี้
  • ถุงมือ คู่ละ 35 บาท จำนวน 85 คู่ เป็นเงิน 2,975 บาท
  • ไม้กวาดก้านมะพร้าว ราคา 35 บาท จำนวน 85 อัน เป็นเงิน 2,975 บาท -ถุงดำ แพ็คละ 75 บาท จำนวน 10 แพ็ค เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28300.00

กิจกรรมที่ 3 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
3. ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ในกิจกรรม ดังต่อไปนี้ - กิจกรรม “รู้จักฉัน รู้จักเธอ สานสัมพันธ์ไมตรี - กิจกรรม บทบาทสมมุติ
- กิจกรรม 5ป 1ข รู้ไว้ปลอดภัยแน่นอน - กิจกรรม บ้านน่าอยู่ด้วยมือเรา ทำ Big Cleaning Day ณ บ้านของแกนนำ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “โรคไข้เลือดออก”

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ได้โปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. หลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแกนนำครัวเรือนมีความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ที่ดีขึ้น
3. หลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแกนนำครัวเรือนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
4. แกนนำครัวเรือนมีส่วนร่วมต่อสังคมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี


>