กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานในชุมชน แบบบูรณาการ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6961-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้ป่วยนอก ​โรงพยาบาลสุไหงโกลก
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2021 - 25 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2021
งบประมาณ 64,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พว.ปราณี จุลกศิลป์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานปี 2563
2,475.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า
51.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนและจากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2551 พบว่าทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประมาณ 36 ล้านคน (ร้อยละ 63) โดยประมาณ ร้อยละ44 เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี ประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่าราย คิดเป็นร้อยละ 73 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs ค่อนข้างมากจากสถานการณ์ดังกล่าว จากข้อมูลจาก HDC (Health Data Center) ปี 2563 สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก พบว่า เป็นอันดับ 1 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ลงทะเบียนและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 2,475 คน การควบคุมสภาวะโรคพบว่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (ค่า HbA1cครั้งสุดท้ายน้อยกว่า 7 %)ได้ร้อยละ 37.49 ซึ่งยังไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเข้าถึงบริการทุกมิติในผู้ป่วยเบาหวานพบว่า อัตราการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน อัตราการคัดกรองตา คัดกรองได้ร้อยละ 49.49การคัดกรองเท้า คัดกรองได้ร้อยละ 51.15การคัดกรองไตในผู้ป่วยเบาหวาน ได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่อาจจะป้องกันได้ พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 9.2 ภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 26.9 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ 1.85 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคเบาหวานการดำเนินการเชิงรุกโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อคัดกรองให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองอย่างครอบคลุมสามารถป้องกันและควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้คลินิก NCD และ Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ทั้งเครือข่ายโดยจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในการคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนทางตาไตเท้า จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน ทั้งเครือข่ายโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตา ไตเท้า ครบถ้วน

ร้อยละกลุ่มเป้าหมาย(เบาหวาน)ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตาไตเท้า ตามเป้าหมายที่กำหนด

50.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

อัตราป่วยและตายด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานลดลง

10.00 5.00
3 เพื่อให้หน่วยบริการในเครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน

เครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน

70.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 64,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน 0 52,500.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่เครือข่ายดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน 0 11,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนได้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด
  2. ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง
  3. หน่วยบริการในเครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2020 00:00 น.