กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานในชุมชน แบบบูรณาการ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ผู้ป่วยนอก ​โรงพยาบาลสุไหงโกลก

1. พว.ปราณี​ จุลก​ศิลป์
2. พว.อาซูรา​ เบ็ญจุฬามาศ โทร. 089-7392401

โรงพยาบาล​สุไหงโกลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานปี 2563

 

2,475.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า

 

51.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนและจากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2551 พบว่าทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประมาณ 36 ล้านคน (ร้อยละ 63) โดยประมาณ ร้อยละ44 เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี ประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่าราย คิดเป็นร้อยละ 73 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs ค่อนข้างมากจากสถานการณ์ดังกล่าว
จากข้อมูลจาก HDC (Health Data Center) ปี 2563 สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก พบว่า เป็นอันดับ 1 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ลงทะเบียนและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 2,475 คน การควบคุมสภาวะโรคพบว่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (ค่า HbA1cครั้งสุดท้ายน้อยกว่า 7 %)ได้ร้อยละ 37.49 ซึ่งยังไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเข้าถึงบริการทุกมิติในผู้ป่วยเบาหวานพบว่า อัตราการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน อัตราการคัดกรองตา คัดกรองได้ร้อยละ 49.49การคัดกรองเท้า คัดกรองได้ร้อยละ 51.15การคัดกรองไตในผู้ป่วยเบาหวาน ได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่อาจจะป้องกันได้ พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 9.2 ภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 26.9 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ 1.85
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคเบาหวานการดำเนินการเชิงรุกโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อคัดกรองให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองอย่างครอบคลุมสามารถป้องกันและควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้คลินิก NCD และ Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ทั้งเครือข่ายโดยจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในการคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนทางตาไตเท้า จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน ทั้งเครือข่ายโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตา ไตเท้า ครบถ้วน

ร้อยละกลุ่มเป้าหมาย(เบาหวาน)ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตาไตเท้า ตามเป้าหมายที่กำหนด

50.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

อัตราป่วยและตายด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานลดลง

10.00 5.00
3 เพื่อให้หน่วยบริการในเครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน

เครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 15
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 25/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่เครือข่ายดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่เครือข่ายดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. 50 คน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานNCD ในเครือข่ายอำเภอสุไหงโก-ลก 15 คน รวม 65 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ
2. ประชุมทีม Service plan โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำโรงพยาบาล,สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและรพ.สต., CMU, PCUเพื่อเตรียมโครงการ และชี้แจงในการทำข้อตกลงการคัดกรองผู้ป่วย
3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานฝึกทักษะการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในชุมชนประกอบด้วยอสม. จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานNCD ในเครือข่ายอำเภอสุไหงโก-ลก 15 คน เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสารการประชุม
09.00 - 12.00 น. อบรมการตรวจคัดกรองเท้าเบาหวาน แบ่งกลุ่มฝึกการตรวจคัดกรองเท้าเบาหวานให้แก่ภาคีเครือข่าย อสม. และทำข้อตกลงในการติดตามผู้ป่วยและการคัดกรองเชิงรุกในเขตรับผิดชอบ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมการตรวจคัดกรองเท้าเบาหวานแบ่งกลุ่มฝึกการตรวจคัดกรองเท้าเบาหวานให้แก่ภาคีเครือข่าย อสม. และทำข้อตกลงในการติดตามผู้ป่วยและการคัดกรองเชิงรุกในเขตรับผิดชอบ(ต่อ) และแลกเปลี่ยนปัญหาจากการฝึกคัดกรองและสาธิตกลับในการคัดกรอง วิทยากรโดย...เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำโรงพยาบาล,สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและรพ.สต., CMU, PCU
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 65 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน3,250 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 65 คน x1 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท
- ค่าตอบแทนอสม. (คัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน) 50 คน x 100 บาท เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และมีการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเชิงรุกในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 300 คน , อสม. 50 คน , เจ้าหน้าที่ 15 คน รวม 365 คน รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. ให้ อสม. ประชาสัมพันธ์/นำผู้ป่วยโรคเบาหวานที่คัดกรองได้มาเข้าร่วมโครงการ
2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
3. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสารการประชุม
09.00 - 10.00 น. พิธีเปิดโครงการ และพิธีมอบรองเท้าเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
10.00 - 12.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เรื่องภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน แบบบูรณาการพร้อมรับการคัดกรองผู้ป่วย
แบ่งกลุ่มผู้ป่วยคัดกรองตามฐานคัดกรอง
ฐานที่ 1คัดกรองเท้า
ฐานที่ 2 คัดกรองเท้าด้วย ABI
ฐานที่ 3 คัดกรองตาเบาหวาน
ฐานที่ 4 ตรวจสอบการคัดกรองไตในDM /HT
ออกใบนัดการเจาะเลือดคัดกรองไต
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เรื่องภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน แบบบูรณาการพร้อมรับการคัดกรองผู้ป่วย
แบ่งกลุ่มผู้ป่วยคัดกรองตามฐานคัดกรอง
ฐานที่ 1คัดกรองเท้า
ฐานที่ 2 คัดกรองเท้าด้วย ABI
ฐานที่ 3 คัดกรองตาเบาหวาน
ฐานที่ 4 ตรวจสอบการคัดกรองไตในDM /HT
ออกใบนัดการเจาะเลือดคัดกรองไต
งบประมาณ ดังนี้
- เครื่อง Monofilament ตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน 50 อัน x 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 365 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 18,250 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 365 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 18,250 บาท
- ค่าตอบแทน อสม. 50 คน x 100 บาท เป็นเงิน 5,000บาท
- ไวนิลให้ความรู้พร้อมขาตั้ง 2,000 บาท x 3 อัน เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้และได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,000.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ:จำนวนกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนได้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง
3. หน่วยบริการในเครือข่ายมีระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเชิงรุกที่เป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน


>