กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L1523-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ 44,222.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางราตรี แก้วกูล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุณี จำนงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1478 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง(CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD) เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจําเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าว ซึ่งการ บริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการ ขั้นพื้นฐานที่จําเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความ ดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่หมู่ที่๓,๔,๕และ 5 ตำบลนาเมืองเพชร ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓ มีผู้ป่วย โรคเบาหวานจำนวน ๑๒๐, ๑๒๗ และ ๑๓๖ คน อัตรา ๔,๖๘๔, ๕,๙๑๑ และ ๕,๓๐๒ ต่อแสน ประชากรตามลำดับ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๖๘, ๓๑๐ และ ๓๒๘ คน อัตรา, ๑๐,๔๘๕ ๑๑,๙๘๗ และ ๑๒,๘๗๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นทุกปี

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร เล็งเห็นความสำคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกการเข้าถึงชุมชน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยจัดกิจกรรมบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพการคัดกรองความ เสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การให้คำแนะนำด้านสุขภาพ เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นการเตรียมความพร้อมการดูแล สุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และการป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง อันจะทำให้ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มได้ในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตเพื่อค้นหาความเสี่ยงในระยะเริ่มต้น 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส. 3. เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการคัดกรองสุขภาพและพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยยืนยันและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 95 ของประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
  2. ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่คัดกรองพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ
  3. กลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤฆติกรรมสุขภาพ ไม่พบการเกิดโรคผู้ป่วยรายใหม่
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1544 44,222.00 3 44,222.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินสภาวะสุขภาพในประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป 1,372 32,754.00 -
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 อบรมความรู้ทักษะ/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ อสม./แกนนำสุขภาพ จำนวน 66 คน 66 9,468.00 -
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 อสม./แกนนำสุขภาพมีการดูแลและขยายผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. แก่กลุ่มเสี่ยงสูง 66 0.00 -
1 พ.ย. 63 กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สรรหาบุคคลสุขภาพตัวอย่างพร้อมติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 40 คน โดยภาคีเครือข่ายจำนวน ๒ ครั้ง 0 0.00 2,000.00
9 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สรรหาบุคคลสุขภาพตัวอย่างพร้อมติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่งสูง จำนวน 40 คน โดยภาคีเครือข่ายจำนวน 2 ครั้ง 40 2,000.00 -
1 พ.ย. 64 ตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินสภาวะสุขภาพในประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป 0 0.00 32,754.00
1 พ.ย. 64 อบรมความรู้ทักษะ/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ อสม./แกนนำสุขภาพ จำนวน 66 คน 0 0.00 9,468.00
  1. สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียนรายชื่อประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 3,4,5 และหมู่ที่ 6 เพื่อเตรียมพร้อมจำนวนกลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินการจัดทำโครงการ
  2. จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพื่อเสนอขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
  3. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่บุคลากรสาธารณสุข รพ.สต./อสม./ผู้นำเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  4. ค้นหากลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยการตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินสภาวะสุขภาพในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
  5. สรุปผลการตรวจคัดกรองโดยแยกกลุ่ม กลุ่มปกติ และกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลุ่มภาวะเสี่ยงสูงส่งต่อเพื่อพบแพทย์และตรวจยืนยันเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  6. อบรมความรู้/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ อสม./แกนนำสุขภาพ เพื่อดูแลและขยายผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. แก่กลุ่มเสี่ยงสูง
  7. กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สรรหาบุคลากรบุคคลสุขภาพตัวอน่างเพื่อเป็นประสบการณ์เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงสูงโดยภาคีเครือข่าย จำนวน 2 ครั้ง
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดทักษะและการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 10:38 น.