กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดตำบลมะรือโบออก
รหัสโครงการ 64-L2480-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2564 - 27 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 27 มกราคม 2565
งบประมาณ 14,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีม ต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ณ ปัจจุบันการฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก ของตำบลมะรือโบออกอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสในปี ๒๕๖๓พบว่า อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ๘๗.๑๔ อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 32 สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ และอัตราการคลอดบุตรน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.85 ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง ปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการมีภาวะเสี่ยงต่อการหญิงตั้งครรภ์และบุตร และส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนการป้องกันดูแลถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (High Risk ) ดังนั้นรพ.สต.มะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ จึงได้เห็นความสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรเพื่อลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

53.00 55.00
2 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

ไม่เกินร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

53.00 55.00
3 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และแกนนำแม่อาสา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

53.00 55.00
4 4.เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 80 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

53.00 55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 ธ.ค. 64 อบรมให้ความรู้ 53 14,630.00 14,630.00
27 ธ.ค. 64 การติดตามเยี่ยมหลังคลอด 0 0.00 -
รวม 53 14,630.00 1 14,630.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์ ร้อยละ 80 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่มากกว่า ร้อยละ10 3.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ80 4.มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 00:00 น.