กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 64-L3315-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤศจิกายน 2563 - 31 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 2 มีนาคม 2564
งบประมาณ 6,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ย. 2563 31 ม.ค. 2564 6,120.00
รวมงบประมาณ 6,120.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ปัจจุบันมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึง 5 โรคสำคัญ ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่ง 5 โรคดังกล่าว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และอีกหนึ่งโรคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ โรคเบาหวานซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยากและอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน หรือ 8 รายต่อชั่วโมง
มีเพียง 10% ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีชีวิตอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) คือ ความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและการจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพส่วน บุคคล ครอบครัว และ ชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี จากสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อทางสุขภาพต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายได้ง่ายขึ้น แต่ขาดความไตร่ตรองข้อมูลก่อนนำไปใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนชนไทย ความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงถือว่าเป็นกระบวนการทางปัญญา และทักษะทางสังคมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ และความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะเข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพตนเองให้คงดีอยู่เสมอ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้านสาธารณสุข ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า โรคเบาหวานมีคะแนนรวมสูงเป็นอับดับหนึ่งจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยการ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งได้มาจากขนาดของปัญหา ความรุนแรง ความยากง่าย และความสนใจของคนในชุมชน
โดยโรงพยาบาลควนขนุนมีเป้าประสงค์สูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ (Ultimate goal) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลมีสุขภาพดี พึ่งตนเองทางสุขภาพได้ เมื่อเจ็บป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคและส่งต่อด้วย ความเชี่ยวชาญ ปลอดภัย รวดเร็ว ปัญหาโรคที่สำคัญของพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลลดลงตามเกณฑ์ ของประเทศ ซึ่งโรคเบาหวานถูกจัดให้เป็นประเด็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าประสงค์สูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ (Ultimate goal) (โรงพยาบาลควนขนุน ในปี, 2560) ดังนั้นทางคณะผู้จัดจึงมีความสนใจที่จะจัดทำ โครงการ “การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง” ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหมู่ที่ 4 บ้านโคกวา ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุนขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดโรค พยาธิสภาพ และภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้มีความพร้อมก่อนนำไปปฏิบัติตนที่บ้าน การให้ความรู้เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด การรู้จักประเมินสุขภาพตนเอง ประเมินความสามารถในการควบคุมเบาหวาน และความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ในการตัดสินใจ และวางแผนดูแลตนเองต่อไป นอกจากนี้หากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการรับรู้ที่ดีเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในอนาคตได้ วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 นำปัญหาสุขภาพที่ได้จากการจัดลำดับโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านสาธารณสุข ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มากำหนดหัวข้อโครงการ 1.2 ทบทวนปัญหาและสถานการณ์ของโรคเบาหวานจากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุข 1.3 ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ชี้แจงกิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้วัดผลโครงการรวมทั้งการเขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการดูแลสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สมุดคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใบงานและแบบฝึกหัดที่ใช้ในการทำกิจกรรม สื่อที่ใช้ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินการเข้าร่วมโครงการ 1.5 ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อขอความร่วมมือในการจัดโครงการในครั้งนี้ 1.6 ติดต่อสถานที่โดยประสานงานขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุนในการจัดโครงการครั้งนี้ 1.7 ประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 1.8 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ตามเกณฑ์คัดเข้าดังนี้ 1) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2) ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น โรคต้อกระจก โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น 3) ผู้ที่มีความสามารถในการรับรู้ พูดคุย สื่อสารและอ่านออกเขียนได้ ไม่มีปัญหาด้านการได้ยิน 4) มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ 5) สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการ 2. ขั้นดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใช้ระยะเวลาการดำเนินการภายใน 7 สัปดาห์ ดังนี้ 1) สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 4 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์โรงพยาบาลควนขนุน ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมทั้งหมด 2 ชั่วโมง           กิจกรรม (1) กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพ (2) กิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้โดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และฝึกทักษะการสื่อสาร (3) กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มตัวอย่างและระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มตัวอย่าง (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย (3) เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนดำเนินการทดลอง (4) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สาเหตุ ปัจจัย อาการ ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (5) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (6) เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการสื่อสาร             2) สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.30 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) กิจกรรม "เข้าถึงข้อมูลน่ารู้สื่อน่าเชื่อถือ" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกต้องได้ (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถรู้เท่าทันสื่อที่มีความน่าเชื่อถือได้ และสาธิตวิธีการตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลจากสื่อหรือเว็บไซต์ ที่เชื่อถือได้เช่น องค์กรอาหารและยา มูลนิธิหมอชาวบ้าน กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น 3) สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.30 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) กิจกรรม "มองอดีตเพื่ออนาคต" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถวางแผน และปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพของตนได้ 4) สัปดาห์ที่ 4 – 6 ระหว่างวันที่ 19 – 30 ธันวาคม 2563 และวันที่ 1 -9 มกราคม 2564 การดำเนินการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) เพื่อติดตามและประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อติดตามและประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1. 5) สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 15 มกราคม 2564 การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแล สุขภาrของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน               กิจกรรม (1) กิจกรรม "สรุปการเรียนรู้" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังดำเนินการทดลอง (2) เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการเข้าร่วมกิจกรรม (3) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างร่วมกันเสนอแนะ หรือข้อควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม 3. ขั้นประเมินผล 3.1 ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควขนุน จังหวัดพัทลุง โดยเนื้อหาในแบบประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ตอน (ตอนที่ 1 – 8) และแบบสัมภาษณ์ 1 ตอน (ตอนที่ 9) รวมทั้งหมดมีจำนวน 73 ข้อ 3.2 ประเมินทักษะการจัดการพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยา จำนวน 8 ข้อ จากการบันทึกข้อมูลในคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 6,120.00 1 6,120.00
25 พ.ย. 63 ส่งเสริมกลุ่มตัวอย่าง 40 6,120.00 6,120.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 นำปัญหาสุขภาพที่ได้จากการจัดลำดับโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านสาธารณสุข ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มากำหนดหัวข้อโครงการ 1.2 ทบทวนปัญหาและสถานการณ์ของโรคเบาหวานจากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุข 1.3 ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ชี้แจงกิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้วัดผลโครงการรวมทั้งการเขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการดูแลสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สมุดคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใบงานและแบบฝึกหัดที่ใช้ในการทำกิจกรรม สื่อที่ใช้ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินการเข้าร่วมโครงการ 1.5 ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อขอความร่วมมือในการจัดโครงการในครั้งนี้ 1.6 ติดต่อสถานที่โดยประสานงานขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุนในการจัดโครงการครั้งนี้ 1.7 ประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 1.8 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ตามเกณฑ์คัดเข้าดังนี้ 1) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2) ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น โรคต้อกระจก โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น 3) ผู้ที่มีความสามารถในการรับรู้ พูดคุย สื่อสารและอ่านออกเขียนได้ ไม่มีปัญหาด้านการได้ยิน 4) มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ 5) สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใช้ระยะเวลาการดำเนินการภายใน 7 สัปดาห์ ดังนี้ 1) สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 4 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์โรงพยาบาลควนขนุน ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมทั้งหมด 2 ชั่วโมง           กิจกรรม (1) กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพ (2) กิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้โดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และฝึกทักษะการสื่อสาร (3) กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มตัวอย่างและระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มตัวอย่าง (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย (3) เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนดำเนินการทดลอง (4) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สาเหตุ ปัจจัย อาการ ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (5) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (6) เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการสื่อสาร             2) สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.30 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) กิจกรรม "เข้าถึงข้อมูลน่ารู้สื่อน่าเชื่อถือ" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกต้องได้ (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถรู้เท่าทันสื่อที่มีความน่าเชื่อถือได้ และสาธิตวิธีการตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลจากสื่อหรือเว็บไซต์ ที่เชื่อถือได้เช่น องค์กรอาหารและยา มูลนิธิหมอชาวบ้าน กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น 3) สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.30 น. การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) กิจกรรม "มองอดีตเพื่ออนาคต" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ (2) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถวางแผน และปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพของตนได้ 4) สัปดาห์ที่ 4 – 6 ระหว่างวันที่ 19 – 30 ธันวาคม 2563 และวันที่ 1 -9 มกราคม 2564 การดำเนินการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน             กิจกรรม (1) เพื่อติดตามและประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อติดตามและประเมินทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  3. 5) สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 15 มกราคม 2564 การดำเนินการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแล สุขภาrของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน               กิจกรรม (1) กิจกรรม "สรุปการเรียนรู้" วัตถุประสงค์ของกิจกรรม (1) เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังดำเนินการทดลอง (2) เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการเข้าร่วมกิจกรรม (3) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างร่วมกันเสนอแนะ หรือข้อควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
  4. ขั้นประเมินผล 3.1 ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควขนุน จังหวัดพัทลุง โดยเนื้อหาในแบบประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ตอน (ตอนที่ 1 – 8) และแบบสัมภาษณ์ 1 ตอน (ตอนที่ 9) รวมทั้งหมดมีจำนวน 73 ข้อ 3.2 ประเมินทักษะการจัดการพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยา จำนวน 8 ข้อ จากการบันทึกข้อมูลในคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดีขึ้น 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดีขึ้น 3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 4. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563 17:21 น.