กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน รพ.สต.ตำมะลัง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5306-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายลิขสิทธิ์ หนูนุ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.537855937,100.0531597place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม

จากผลการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง โดย อสม. ได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี 2563 พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 24 คน  สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปีงบ 2563 พบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 51.23 และผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 25 (ข้อมูลจาก HDC จังหวัดสตูล)  ในจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ 1) โรคไตเสื่อม 2) โรคจอประสาทตา 3) โรคหัวใจหลอดเลือด 4) โรคอัมพฤกษ์ (เส้นเลือดสมองแตก) เป็นต้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มากกว่าหรือเท่าร้อยละ 40
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 27,000.00 0 0.00
11 พ.ย. 63 - 20 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาติ 180 27,000.00 -
  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และทีมสหวิชาชีพ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ
  3. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ  ในเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส ,ยาสมุนไพร ,การป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  (จัดกิจกรรมให้ความรู้ ทั้งหมด 12 ครั้ง)
  4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน/รายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
  2. อัตราความรุนแรงของโรคลดลง อัตราความพิการลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 09:56 น.