กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดเสี่ยงเลี่ยงโรค ปี 25ุ64
รหัสโครงการ 64-L3355-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 79,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรุณา วิสโยภาส
พี่เลี้ยงโครงการ นางจำนรรจา เสนเนียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 79,200.00
รวมงบประมาณ 79,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 325 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 933 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 948 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 390 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่มักจะทราบวาเป็นโรคเมื่อมีอาการรุ่นแรงขึ้น แต่ถ้าได้รับการคัดกรองอย่างถูกต้องและกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม จะทำให้พบผู้เป็นโรคในระยะเริ่มแรกสามารถให้การรักษาที่ถูกต้องและต่อเนือง ทำให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ลดลง จากข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ สถานีอนามัยบ้านน้ำเลือด ในปี 2553 -2563 พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกัน หากผู้ทีมี่ภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียดซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านน้ำเลือด กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการคัดเสื่ยงเลี่ยงโรค ปี 2564 ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับกลุ่มปกติในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงที และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

คัดกรอง ค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้อย่างน้อยร้อยละ 90

434.00 390.00
2 เพื่อปรับเปลี่นพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงอย่างน้อยร้อยละ 95

998.00 948.00
3 เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลทันท่วงที ร้อยละ 100

25.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,200.00 3 79,200.00
1 พ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป 0 19,500.00 19,500.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน 0 59,700.00 59,700.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 การติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน 0 0.00 0.00

ขั้นเตรียมการ
1.จัดประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ 2.ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง 3.เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไปแยกเป็นรายหมู่บ้าน 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนปฏิบัติงาน ขั้นดำเนินการ 1.ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรอง โดยแยกเป็นรายหมู่บ้าน และแยกเป็นกลุ่มย่อยตาม แผนปฏิบัติงาน 2.พัฒนาทักษะในการคัดกรอง การแปรผลและการดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างถูกต้องเหมาะสม สำหรับ อสม. 3.ปฏิบัติงานตามแผน ตั้งแต่เวลา 06.30 น. การให้ความรู้รายกลุ่มเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดปลายนิ้วหาค่าน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว การประเมินความเครียดด้วยตนเอง การคัดกรองภาวะซึมเศร้า พร้อมแจ้งผลให้ทราบ 4.กรณีที่มีผลน้ำตามในเลือดสูงกว่ 100 mg% และความดันโลหิตสูงกว่า 120/80 mmHg ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันคัดกรอง และึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือดเพื่อการดูแลต่อไป สำหรับกลุ่มปกติ คือกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ คือไม่เกิน100 mg% ค่าความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 mmHg ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นกลุ่มเสี่ยงและเกิดเป็นโรคเบาหวานและโรคความตดันโลหิตสูง การดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่อง 1.นำผลที่ได้จากการคัดกรองฯ มาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จัดกล่มจากการคัดกรองตามเกณฑ์ 2.จัดทำแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ   - จัดให้มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องโรค การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง   - จัดกระบวนการกลุ่มพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพขึ้นในชุมชน   - ตดตามวัดความดัน ฯ และเจาะเลือดซ้ำ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน   - ส่งต่อผู้ที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 3.ขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง 1.จัดกลุ่มเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มที่มีภาวะเสี่่ยง 2.ติดตามเยี่ยมบ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 90 ของประากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า ภาวะเครียด 2.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 3.อัตราการเกิดโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 10 4.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 5.กลุ่มที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดปกติ และระดับความดันโลหิตปกติ ได้รับความรู้ในการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2563 00:00 น.