กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารดีมีคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก
รหัสโครงการ 64-L5193-03-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรกนก บุญมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือ
60.00
2 ร้อยละนักเรียนชอบทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานไม่มีประโยชน์เป็นประจำ
80.00
3 ร้อยละนักเรียนที่น้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์
10.00
4 ร้อยละผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็ก
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียน เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตในทุกด้านคือทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาการบริการอาหารกลางวันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับเด็กเล็ก เพราะการรับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีการจัดทำอาหารกลางวันที่มีรสชาติพอดี ไม่หวานจัด ไม่เค็มจัดและไม่ใส่สารปรุงรสและมีอย่างเพียงพอต่อความต้องการบริโภคอาหาร จะทำให้เด็กเล็กมีสุขภาพดีและแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค เมื่อเด็กเล็กมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมส่งผลให้เด็กเล็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็กให้มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อช่วยสนับสนุนให้เด็ก ๆ อายุ 2-6 ขวบ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับอาหารกลางวันที่มีรสชาติพอดี ไม่หวานจัด ไม่เค็มจัดและไม่ใส่สารปรุงรสที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับวัย อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนั้นยังจัดการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ตามศูนย์เด็กเล็กต่าง ๆ ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับหลักโภชนาการ พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กไม่ได้รับประทานอาหารกลางวันและภาวะทุพโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ จะต้องเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐หมวด ด บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้และ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และสอดคล้องกับพะราชกิจจานุเบกษาประกาศ คณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ. ๒๕๕๗ กิจกรรมบริการสาธารณสุขตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ มีนาคม ๒๕๕๗ ข้อ ๓ กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนและระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนตำบลวังใหญ่ เรื่องการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ ข้อ ๑๐ (๑) ผลการดำเนินโครงการฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน ๔๐ คน มีน้ำหนักและส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๑๐ นักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือ ร้อยละ ๖๐ นักเรียนที่ชอบทานขนมขบเคี้ยว ลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานไม่มีประโยชน์ ร้อยละ ๘๐ ซึ่งนับเป็นโครงการฯที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ มีความมุ่งหวังเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการและครบ ๕ หมู่ มีพัฒนาการสมวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญา ฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันเพิ่มขึ้น

ร้อยละของเด็กนักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เป็นประจำ

ร้อยละเด็กนักเรียนเลิกรับประทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มรสหวานไม่มีประโยชน์

80.00 0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ร้อยละนักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

10.00 0.00
4 เพื่อเพิ่มผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็ก

ร้อยละผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้น

20.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันเพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เป็นประจำ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อเพิ่มผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ครูและผู้รับผิดงานศูนย์พัฒนาเด็กล็กบ้านควนหมาก 325.00 -
??/??/???? ให้ความรู้เด็กผู้ปกครอง และแม่ครัว ด้านโภชนาการ และสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์ 9,425.00 -
??/??/???? ปีศาจขนมหวาน 3,700.00 -
??/??/???? ออกกฎกติกา ในโรงเรียน 500.00 -
??/??/???? ติดตามประเมินผลโครงการฯ 0.00 -
??/??/???? คืนข้อมูลโครงการอาหารดีมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ให้กับผู้ปกครอง 0.00 -
1 ธ.ค. 63 ชวนน้องออกกำลังกาย 0.00 1,850.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 สำรวจข้อมูลพื้นฐานภาวะโภชนาการในโรงเรียน 4,800.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
  2. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 100
  3. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 100
  4. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก รับประทาอาหารกลางวันเหลือลดลง ร้อยละ 30
  5. มีการโดยใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหมาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 12:13 น.