กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L2476-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6895 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคไข้เลือดออก
6,895.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   ตำบลดุซงญอ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2562 – ๒๕63 เท่ากับ 117.64 และ 31.64 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน เห็นความสำคัญของการคว่ำกะลา คว่ำกระป๋อง ยางรถยนต์และวัสดุที่ แตกหัก เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

 

6895.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้สุขศึกษาเรื่องไข้เลือดออก

 

6895.00
4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
5 เพื่อเฝ้าระวัง วิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา

 

0.00
6 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนให้ลดลง

 

0.00
7 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 6895 28,000.00 1 28,000.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมพ่นหมอกควัน 6,895 28,000.00 -
1 เม.ย. 64 กิจกรรมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควัน 0 0.00 28,000.00
  1. จัดประชุมตัวแทนเพื่อระดมความคิดผู้เกี่ยวข้องได้แก่ อสม., ครู, นายก อบต. ดุซงญอ, สมาชิก อบต. ดุซงญอ, ผู้นำศาสนาของทุกหมู่บ้าน, แกนนำหมู่บ้าน, กลุ่มสตรี และปลัดตำบลดุซงญอ มาร่วมรับรู้ปัญหาร่วมกัน ร่วมวางแผนกิจกรรม ร่วมปฏิบัติและประเมินผล
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค ไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประกอบด้วย
    3.1 คว่ำกะลา กระป๋อง ภาชนะแตกหักที่อาจกักเก็บน้ำได้ควรได้รับการกำจัดทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้านและโรงเรียนเป้าหมาย เช่น       - โอ่งน้ำ ใช้วิธีปิดฝาให้มิดชิด         - อ่างบัว ใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำ         - ยางรถยนต์เก่า ใช้วิธีปกปิด หรือดัดแปลงให้น้ำขังไม่ได้         - แจกัน ใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก ๗ วัน         - จานรองกระถางต้นไม้ ใช้วิธีใส่ทรายธรรมดาให้ลึก 3ใน4 ส่วนของจาน         - จานรองขาตู้กับข้าว ใช้วิธีเติมน้ำเดือดทุก ๗ วัน 3.2 จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้รถประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าว ประจำหมู่บ้านและที่มัสยิด 3.3 กิจกรรมรณรงค์ โดยเน้นความร่วมมือของชุมชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยให้ชุมชนสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกศุกร์ของสัปดาห์ 3.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคน ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำศาสนา เพื่อสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน โดยการอบรมแบบมีส่วนร่วมในกลุ่ม อสม., แกนนำชุมชน และผู้นำศาสนา
    3.5 จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกให้แกนนำนักเรียน 3.6 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับอสม.ก่อนออกปฏิบัติในพื้นที่เพื่อรงณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกให้แก่ประชาชน 3.7 กิจกรรมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยในชุมชน ในโรงเรียนและสถานที่ราชการเพื่อลดจำนวนของยุงลายตัวแก่ในชุมชนและลดการแพร่เชื้อไปสู่คนด้วย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วย / ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  5. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  6. แก้ไขปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 14:45 น.