กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด เสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 2
รหัสโครงการ 64-L2981-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.68268,101.14563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อกำลังเป็นปัญหาทางสุขภาพที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเมื่อเจ็บป่วยแล้วเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องได้รับการรักษายาวนานตลอดชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย มีการประมาณการทางสถิติว่ามีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปีและมีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าวนอกจากนั้นยังพบว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 3.7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติและเสี่ยงต่อการโรคไตวาย ดรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนโรคเบาหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย ตาบอด แผลเรื้อรังบางรายถึงขึ้นจะต้องตัดอวัยวะส่วนปลายออกเป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่พบบ่อยที่สุดคือการบริโภคอาหารจากพฤติกรรมของตนเองแต่ขาดการเฝ้าระวัง ขาดการป้องกัน การบริโภคอาหารที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ปลาเค็ม บูดู และเนื้อหมักเค็ม ซึ่จะมีรสชาติที่เค็มมากและยังบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน เป็นกิจวัตรประจำวันประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบและยังไม่ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฟติกรรม ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาประดู่ หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย มีภาวะเสี่ยงป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย จึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง ผู้ป่วยรายใหม่ ในระยะเริ่มแรก ให้สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

60.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,000.00 0 0.00
2 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 คัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและการปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 0 28,000.00 -
  1. สำรวจกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่
  2. ประสานงานทีมวิทยากร จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือวัดต่าง ๆ
  3. ตั้งคณะทำงานประชุมคณะทำงานประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและให้ความร่วมมือ ความสนใจร่วมโครงการ
  4. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน 4.1 วันอบรมรับลงทะเบียนและเจาะเลือดปลายนิ้วมือ เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกาย
    4.2 ให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สาเหตุของโรคและปัจจัยเสี่ยงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและการปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ. 2ส. 4.3 ระดมความคิดในการหา วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้ผลและยั่งยืนเหมาะสมกับสภาพของผู้เข้าอบรมและสภาพพื้นที่ความเป็นอยู่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  2. ผู้ป่วยรายใหม่ ได้รับการค้นพบโดยเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
  3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 09:51 น.