กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด เสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2

อาคารเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

ในปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อกำลังเป็นปัญหาทางสุขภาพที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเมื่อเจ็บป่วยแล้วเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องได้รับการรักษายาวนานตลอดชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย มีการประมาณการทางสถิติว่ามีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปีและมีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าวนอกจากนั้นยังพบว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 3.7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติและเสี่ยงต่อการโรคไตวาย ดรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนโรคเบาหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย ตาบอด แผลเรื้อรังบางรายถึงขึ้นจะต้องตัดอวัยวะส่วนปลายออกเป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่พบบ่อยที่สุดคือการบริโภคอาหารจากพฤติกรรมของตนเองแต่ขาดการเฝ้าระวัง ขาดการป้องกัน การบริโภคอาหารที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ปลาเค็ม บูดู และเนื้อหมักเค็ม ซึ่จะมีรสชาติที่เค็มมากและยังบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน เป็นกิจวัตรประจำวันประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบและยังไม่ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฟติกรรม ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาประดู่ หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย มีภาวะเสี่ยงป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย จึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง ผู้ป่วยรายใหม่ ในระยะเริ่มแรก ให้สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

60.00 30.00

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิสูง
2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
3. เพื่อให้ผู้ตรวจคัดกรองพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและการปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
โครงการคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและการปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คะัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและการปฏิบัติตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง - ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน4,600 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 120 ชุด ชุดละ 50 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื้ม จำนวน 120 ชุด ชุดละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าป้ายไวนิล 1*4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 800 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (ปากกาลูกลื่น ,แฟ้ม ,สมุดบันทึก, กระดาษโฟร์ชาร์ท , ปากกาเคมี)เป็นเงิน 3,400 บาท

  • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 120 เล่ม เล่มละ 30 บาทเป็นเงิน 3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบจำนวนผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากขึ้น สามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้พ้นจากโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,000.00 บาท

หมายเหตุ :
*สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
2. ผู้ป่วยรายใหม่ ได้รับการค้นพบโดยเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน


>