กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายอาธร อุคคติ

ชื่อโครงการ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-05 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 64-L6895-01-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 29,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมสะท้อนให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อ ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชน การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยจึงเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2562 พบว่า การตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารของ กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2557 - 2561 พบว่าสถานการณ์ การปนเปื้อนของเชื้อ E.coli มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2557 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 14.4 ปี 2558 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 22.43 ปี 2559 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 17.74 ปี 2560 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 48.39 และปี 2561 พบเชื้อ E.coli ร้อยละ 57.3 การตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านเคมี ปี 2557 - 2561 พบว่าสถานการณ์การปนเปื้อนสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้มีแนวโน้มลดลง แต่การปนเปื้อนฟอร์มาลินกลับเพิ่มสูงขึ้น สำหรับสีสังเคราะห์กลับเพิ่มสูงขึ้นใน 2558 และมีแนวโน้มลดลง จากการตรวจหาสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ปริมาณสารโพลาร์ เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก) มีแนวโน้มลดลงในปี 2560 และปี 2561 ส่วนกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชูพบว่ามีแนวโน้มไม่คงที่คือไม่พบในปี 2560 และพบเพิ่มขึ้นในปี 2561 และปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคพบว่าแนวโน้มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่คงที่เช่นกัน ทางเทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคอาหารในตลาด ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
  2. เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร
  2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
  3. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ประกอบการค้ามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร
  2. ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่มีความสะอาดปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร

วันที่ 11 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนรับเอกสาร
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง  หลักการสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย
  • บรรยายเืร่อง มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร
  • บรรยายเรื่อง สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร
  • บรรยายเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร
  • สถานะการเงินและบัญชีตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น.
ณ อาคารคอซิมบี๊ มีผู้ประกอบการค้าเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 209 ราย มีการประเมินความรู้หลังการอบรมพบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดีร้อยละ 83.87

 

100 0

2. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

วันที่ 1 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้ 1.การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเพื่อกำจัดและควบคุมปริมาณไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป 2. การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบเปลี่ยนทิศทางเข้า – ออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้ 1.การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเพื่อกำจัดและควบคุมปริมาณไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป 2. การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบเปลี่ยนทิศทางเข้า – ออก

 

0 0

3. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

วันที่ 19 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564  จากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทั้งหมด 28 ตัวอย่าง ไม่ปลอดภัยร้อยละ 14.29 ประกอบด้วยสารกันราและยาฆ่าแมลง ไม่พบสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดงปลอดภัยร้อยละ 85.71
  2. กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 จำนวน 62 ตัวอย่าง จากการสุ่มตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบว่ามีตัวอย่างอาหารร้อยละ 95.16 พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และไม่พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเพียงร้อยละ 4.84

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง รวบไปถึงเพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยมีกิจกรรมโครงการทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังและกิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหนะนำโรคในตลาดสดฯ โดยมีผลการดำเนินโครงการฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น.
ณ อาคารคอซิมบี๊ มีผู้ประกอบการค้าเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 209 ราย มีการประเมินความรู้หลังการอบรมพบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดีร้อยละ 83.87
1.2 กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564
จากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทั้งหมด 28 ตัวอย่าง ไม่ปลอดภัยร้อยละ 14.29 ประกอบด้วยสารกันราและยาฆ่าแมลง ไม่พบสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดงปลอดภัยร้อยละ 85.71 1.3 กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 จำนวน 62 ตัวอย่าง
จากการสุ่มตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบว่ามีตัวอย่างอาหารร้อยละ 95.16 พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และไม่พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเพียงร้อยละ 4.84

1.4 กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้   1.4.1 การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเพื่อกำจัดและควบคุมปริมาณไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป   1.4.2 การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบเปลี่ยนทิศทางเข้า – ออก
1.5 สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 13,969 บาท ดังนี้ 1) กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้า - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม  เป็นเงิน  500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการฯ เป็นเงิน 2,340 บาท 2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นเงิน 6,929 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
0.00

 

2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
ตัวชี้วัด : 1. ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังปลอดการใช้สารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิดในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. ตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังปลอดเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง (2) เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (3) กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอาธร อุคคติ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด