กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง รวบไปถึงเพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยมีกิจกรรมโครงการทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังและกิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหนะนำโรคในตลาดสดฯ โดยมีผลการดำเนินโครงการฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น.
ณ อาคารคอซิมบี๊ มีผู้ประกอบการค้าเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 209 ราย มีการประเมินความรู้หลังการอบรมพบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดีร้อยละ 83.87
1.2 กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564
จากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทั้งหมด 28 ตัวอย่าง ไม่ปลอดภัยร้อยละ 14.29 ประกอบด้วยสารกันราและยาฆ่าแมลง ไม่พบสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดงปลอดภัยร้อยละ 85.71 1.3 กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 จำนวน 62 ตัวอย่าง
จากการสุ่มตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบว่ามีตัวอย่างอาหารร้อยละ 95.16 พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และไม่พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเพียงร้อยละ 4.84

1.4 กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้   1.4.1 การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเพื่อกำจัดและควบคุมปริมาณไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป   1.4.2 การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบเปลี่ยนทิศทางเข้า – ออก
1.5 สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 13,969 บาท ดังนี้ 1) กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้า - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม  เป็นเงิน  500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการฯ เป็นเงิน 2,340 บาท 2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นเงิน 6,929 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
0.00

 

2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
ตัวชี้วัด : 1. ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังปลอดการใช้สารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิดในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. ตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังปลอดเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง (2) เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (3) กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh