กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม ปี 2564

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ18 มีนาคม 2564
18
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง สถานการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและผละกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง สรีระวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุในผู้สูงอายุ  และการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
  • พักรับประทานอาหารงวัน บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ เรื่อง การออกกำลังกายแบบไทเก๊ก
  • แบ่งกลุ่มเข้่าฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน ฐานที่ 1 เรียนรู้เรื่อง ยาและประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ  ฐานที่ 2 เรียนรู้การทรงตัวและการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินป้องกันพลัดตกหกล้ม  ฐานที่ 3 เรียนรู้เรื่องสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม  ฐานที่ 4 เรียนรู้เรื่องการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อสะโพก เข่าและข้อเท้า
  • ตอบข้อซักถามและสรุปผลการเรียนรู้/ประเมินความรู้หลังการอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน  70  คน ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับสรีระวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ  การป้องกันการพลัดตกหกล้ม และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบไทเก๊ก พร้อมแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้  4  ฐาน ได้แก่  ฐานเรียนรู้..เรื่องยาและประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ ฐานเรียนรู้..เรื่องกายบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ฐานเรียนรู้...เรื่องสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และฐานเรียนรู้...เรื่องการทรงตัวและการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง เมื่อวันที่  18  มีนาคม  2564  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง
  2. มีการประเมินก่อน-หลังให้ความรู้ผู้เข้าร่วมอบรม  ผลการประเมินมีดังนี้

- ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน 62  ชุด  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับ คะแนนสูงสุดอยู่ช่วงคะแนน 11-15 คะแนน มีจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 45.16 รองลงมาคือช่วงคะแนน 6-10 คะแนน  มีจำนวน 22 คน  คิดเป็นร้อยละ 35.48  และช่วงคะแนน 1-5 คะแนน มีจำนวน 12 คน  คิดเป็นร้อยละ 19.36 - หลังการอบรม    ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 62 ชุด    พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับ คะแนนสูงสุดอยู่ช่วงคะแนน 11-15 คะแนน มีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 48.39 รองลงมาคือช่วงคะแนน 6-10 คะแนน  มีจำนวน 22 คน  คิดเป็นร้อยละ 35.48  และช่วงคะแนน 1-5 คะแนน มีจำนวน 10 คน  คิดเป็นร้อยละ 16.13