กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 31,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสังคมสูงวัย (aging society) โดยในปี 2563  ประเทศไทยมี สัดส่วนผู้สูงอายุ ร้อยละ 1 ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ในภาวะโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ทำให้ต้องมีการรักษาที่ต่อเนื่องและยาวนาน แต่ร่างกายทีเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้มีการผิดรูปของข้อต่างๆ ส่งผลให้เกิดข้อเสื่อม ทำให้มีการทรงตัว และการเคลื่อนไหวผิดปกติ ผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้ม ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจากรายงานการพยากรณ์ การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ พ.ศ.2560-2564 คาดว่าจะมีผู้สูงอายุหกล้ม ปีละ 3,030,900-5,506,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีผู้เสียชีวิตจำนวน 5,700-10,400 คน ผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดการกลัวต่อการหกล้ม สูญเสียความมั่นใจในการทำกิจกรรม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต้องเสียค่ารักษา พยาบาล และการฟื้นฟูสภาพเป็นเวลานาน และการดูแลที่ต่อเนื่อง ตลอดจนส่งผลต่อการขาดรายได้ของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม จากข้อมูลรายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างเดือน กันยายน 2561 -  กันยายน 2562
จังหวัดตรัง พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม 5 อันดับแรกได้แก่ อำเภอเมืองตรัง จำนวน 555 ราย รองลงมาอำเภอห้วยยอด จำนวน 191 ราย อำเภอกันตัง จำนวน 139 ราย อำเภอนาโยง จำนวน 95 ราย และอำเภอย่านตาขาวจำนวน 84 รายตามลำดับ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลกันตัง  ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้เรื่องวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว และการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง สามารถปฏิบัติตัวในเรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองกันตัง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 118 31,680.00 3 28,855.00
11 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน 48 4,740.00 5,494.00
18 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 70 22,340.00 20,865.00
26 มี.ค. 64 กิจกรรมลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้าน/ประเมิน/แก้ไขสภาพแวดล้อม 0 4,600.00 2,496.00

ขั้นเตรียมการ 1. อบรมตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ และทำความเข้าใจถึงแผนดำเนินการตามโครงการ
2. ตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน ขยายลงเครือข่ายร่วมคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนโดยประเมิน falling assessment tool
3. ดำเนินการเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุตามแบบประเมินที่มีค่าการประเมินอยู่ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางขึ้นไป ขั้นดำเนินการ 1. ประสานงานขอสนับสนุนวิทยากรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง /โรงพยาบาลกันตัง /สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมดังนี้ • ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินก่อนและหลังให้ความรู้
• กิจกรรมบรรยายเรื่องสรีระวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ
• กิจกรรมการเข้าฐาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ การให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อสะโพก เข่า และข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกัน การพลัดตกหกล้ม การให้ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม • ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม 3. เจ้าหน้าที่พร้อมแกนนำสุขภาพชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ  ประเมินภาพแวดล้อมจริงที่บ้านพร้อมทั้งแนะแนวทาง/แก้ไขลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ขั้นสรุปและประเมินผล 1.สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง สามารถปฏิบัติตัวป้องกันการพลัดตกหกล้ม
  2. อัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการไม่เกินร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 08:54 น.