กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุขขุม โอฬาริกบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2650 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 1278 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 840 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 615 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
18.39
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
10.34
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
0.02
4 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นอัมพฤกษ์ อัมพาคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง
0.04
5 ร้อยละของประชาชนป่วยเป็นความดันโลหิตสูง
11.00
6 ร้อยละของประขาชนป่วยเป็นเบาหวาน
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันและในอนาคตปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเห็นได้ชัดจากผลการคัดกรองโรค จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปของตำบลพนมวังก์3ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี2561- 2563 พบกลุ่มเสี่ยง ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.20,27.83,18.39กลุ่มเสี่ยงเบาหวานร้อยละ 8.43 ,10.17,10.34ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ร้อยละ10.03,6.38,7.68 กลุ่มสงสัยป่วย เบาหวาน ร้อยละ 2.85,5.88,2.26 ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวต้องได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2 ส.อย่างถูกต้อง เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่และลดกลุ่มเสี่ยง ส่วนกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวานต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง และคัดกรองเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคทุกปี จากปัญหาและภัยของภาวะสุขภาพจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
บ้านสี่แยกไสยวน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวานปี๒๕๖4 เพื่อคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเองและป้องกันการสูญเสียในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองประเมินความเสี่ยง ค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

90.00 95.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสียงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00 90.00
3 เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk)

80.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,050.00 0 0.00
26 เม.ย. 64 - 30 มิ.ย. 64 คัดกรองประเมินความเสี่ยง ค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 0 30,300.00 -
26 เม.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 17,000.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน 0 1,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ร้อยละ 95
  2. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 90
  3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลดลง ร้อยละ 20
  4. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้สงสัยป่วย (ทำ Home BP) ร้อยละ 90
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 50
  6. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันได้ดี ร้อยละ 50
  7. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 80
  8. ผู้ป่วย DM หรือ HT ที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 80
  9. ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 70
  10. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ร้อยละ 85
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 10:03 น.