กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน

หมู่ที่1-8ตำบลพนมวังก์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

18.39
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.34
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

0.02
4 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นอัมพฤกษ์ อัมพาคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง

 

0.04
5 ร้อยละของประชาชนป่วยเป็นความดันโลหิตสูง

 

11.00
6 ร้อยละของประขาชนป่วยเป็นเบาหวาน

 

3.00

ปัจจุบันและในอนาคตปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเห็นได้ชัดจากผลการคัดกรองโรค จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปของตำบลพนมวังก์3ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี2561- 2563 พบกลุ่มเสี่ยง ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.20,27.83,18.39กลุ่มเสี่ยงเบาหวานร้อยละ 8.43 ,10.17,10.34ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ร้อยละ10.03,6.38,7.68 กลุ่มสงสัยป่วย เบาหวาน ร้อยละ 2.85,5.88,2.26 ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวต้องได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2 ส.อย่างถูกต้อง เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่และลดกลุ่มเสี่ยง ส่วนกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวานต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง และคัดกรองเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคทุกปี
จากปัญหาและภัยของภาวะสุขภาพจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
บ้านสี่แยกไสยวน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวานปี๒๕๖4
เพื่อคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเองและป้องกันการสูญเสียในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองประเมินความเสี่ยง ค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

90.00 95.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสียงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00 90.00
3 เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk)

80.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,650
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,278
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 840
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 615
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประเมินความเสี่ยง ค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประเมินความเสี่ยง ค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแบบประเมินความเสียง จำนวน 3,000 หน้า * 0.5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มจำนวน 3,000 ชุด *9.60 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบประเมินความเสี่ยงจำนวน 3,000 หน้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30300.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่ายางยืดในการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย จำนวน 100 เส้น * 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  2. ค่าผ้าขาวม้าในการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย จำนวน 100 ผืน * 90 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
  3. ค่าแบบบันทึกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 2,000 หน้า * 0.5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแบบคัดกรองตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 500 หน้า * 0.5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  2. ค่ากระดาษเช็ดเท้า จำนวน 200 ชิ้น * 5 บาท
  3. ค่าโลชั่นทาตรวจเท้า ผสมวิตามินอีขนาด 400 ซีซี จำนวน 2 ขวด * 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ร้อยละ 95
2. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 90
3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลดลง ร้อยละ 20
4. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้สงสัยป่วย (ทำ Home BP) ร้อยละ 90
5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 50
6. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันได้ดี ร้อยละ 50
7. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 80
8. ผู้ป่วย DM หรือ HT ที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 80
9. ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 70
10. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ร้อยละ 85


>