กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการบริหารจัดการกองทุน พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุน พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ l5281-64-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 166,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนหลักประกันสุขภาพลดลง
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศ ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานงานองค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้าร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้าร่วมมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุน ให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและสร้างกลไกในสังคมที่จะเข้าร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ยได้เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับประชาชน และเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตตลอดจนทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเดินทางรวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนจึงต้องมีความพยายามที่จะต้องมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งกลุ่มองค์กร ทั้งประชาชน ในการร่วมกันดูแล ส่งเสริม ป้องกันและสนับสนุน เรื่องสุขภาพให้แก่ประชาชน ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง
การพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นส่วนหลักในการดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการส่วนสาธารณสุขทั้งที่บ้านและในชุมชนได้อย่างทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
  • วัสดุสำนักงานฯสำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯถูกซื้อตามแผนงานที่วางไว้
  • ครุภัณฑ์สำหรับบริหารกองทุนฯถูกจัดซื้อตามแผนงานที่วางไว้
0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ
  • บุคลากรได้รับการจ้างเหมารายเดือนตามแผนงานและกิจกรรมที่วางไว้
0.00
3 เพื่อเตรียมแผนงาน สำหรับปีงบประมาณ 2565
  • มีแผนงานการทำงานกองทุน สำหรับปีงบประมาณ 2565
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน     - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
        - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ   2. ขั้นตอนการดำเนินงาน     - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
        - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน     - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน     - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม   3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
        - จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี     - จัดประชุมคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี     - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน   2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 10:40 น.