กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยิ้มสวย วัยใส ประถมศึกษาร่วมใจ ห่างไกลฟันผุ ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 64-L8022-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัญเปมฐิษา แกล้วทนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่แพร่หลายโรคหนึ่งของประชากรทั่วโลกและเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข โรคนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ทุกสถานภาพทางเศรษฐกิจและทุกอายุ แต่ในวัยเด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนประถมศึกษา เป็นกลุ่มวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงเนื่องจากเป็นวัยที่เปลี่ยนผ่านจากชุดฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร และจะมีฟันถาวรขึ้นครบ 28 ซี่ เมื่ออายุ 12 ปี และยังพบการเกิดโรคในช่องปากที่เป็นปัญหาระดับประเทศอีกด้วย ซึ่งอัตราการเกิดโรคฟันผุในวัยนี้จะใช้เพื่อทำนายแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุในวัยผู้ใหญ่ จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่าโรคฟันผุในฟันแท้ในกลุ่มอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.0 มีประสบการณ์การเป็นโรคฟันผุ และมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.4 ซี่ต่อคน ซึ่งใกล้เคียงกับผลจากการสำรวจครั้งที่ 7 ที่มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.3 ซี่/คน ปัญหาฟันผุในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากไม่ดี โดยมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม นิยมทานอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ดีนัก นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งมีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือมีผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียน และปัญหาฟันผุ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็ก ยังอาจสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา ดังนั้นการดูแลทันตสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ควรเริ่มต้นตั้งแต่เด็กเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยการสำรวจสุขภาพช่องปากในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าปัญหาเรื่องโรคฟันผุเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับหนึ่งของโรงเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เฉลี่ย 1.3 ซี่ต่อคน ซึ่งใกล้เคียงกับระดับประเทศ โดยนักเรียนส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการแปรงฟันไม่สะอาด พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การไม่ได้รับบริการทางทันตกรรม และไม่เห็นความสำคัญของการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากตามมา ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ ได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จึงได้จัดทำโครงการยิ้มสวย วัยใส ประถมศึกษาร่วมใจ ห่างไกลฟันผุ ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการให้ทันตสุขศึกษา การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และการตรวจฟัน รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการรับบริการทันตกรรมในเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

100.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความรู้ในการป้องกันฟันผุ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความรู้ในการป้องกันฟันผุ

100.00 80.00
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,760.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนและรับชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก 0 7,700.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 0 110.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบความรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ 0 220.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุ การป้องกันและการรักษาโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก วิธีการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี 0 17,900.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดกิจกรรมแบ่งกลุ่มเข้าฐาน โดยแบ่งฐานกิจกรรม 0 2,500.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ 0 220.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ติดตามผลโครงการโดยการเข้าไปตรวจฟันตามแบบบันทึกผลการตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน หลังจากการจัดกิจกรรม 7 วัน 0 110.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีความรู้ในการป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้น
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563 14:16 น.