กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน


“ โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน ”

ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางอาภรณ์ แสงแก้ว

ชื่อโครงการ โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน

ที่อยู่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L8429-01-08 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 มกราคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 64-L8429-01-08 ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 มกราคม 2564 - 30 สิงหาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4,240.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่พบได้บ่อย คืออัตราไหลของน้ำลายลดลง เหงือกอักเสบ (การอักเสบของเหงือกและมีเลือดออกเหงือกบวมแดงเหงือกโตผิดปกติ) ฟันผุ และการสึกกร่อนของฟัน เป็นต้นโรคในช่องปากที่มีโอกาสพบมากในหญิงตั้งครรภ์คือเหงือกอักเสบโรคปริทันต์  และโรคฟันผุ หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดเหงือกอักเสบรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาจเกิด ฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้น และการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดีอาการอาเจียนบ่อยๆขณะแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อยที่เป็นกรด ภาวการณ์เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบอาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ และการคลอด มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิด ภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย จากการศึกษาของสำนักทันตสาธารณสุขพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย 6.6 ซี่ ร้อยละ 90.4 มีเหงือกอักเสบร้อยละ 89.60 และจากการศึกษาข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ในเขต ตำบลบ่อหิน ในปี 2564 จำนวน 25 คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย 5.2 ซี่ ร้อยละ54.2 มีเหงือกอักเสบ รวมทั้งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ยังส่งผล ต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคตเพราะเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุสามารถส่งต่อจากแม่หรือคนเลี้ยงไปสู่เด็กผ่านทางน้ำลาย ดังนั้นแม่ที่อนามัยช่องปากไม่สะอาดมีฟันผุมากจึงมีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะส่งผ่านเชื้อไปสู่ลูกแม่ที่มีฟันผุสูงมีโอกาสที่จะ ส่งผ่านเชื้อที่ทำให้ฟันผุไปยังลูกผ่านทางน้ำลายโดยเด็กที่ได้รับเชื้อที่ทำให้ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยร่วมกับการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเกิดฟันผุรวดเร็ว และรุนแรงนอกจากนี้การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำรวมถึงให้บริการขูดหินน้ำลายยังช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ได้กว่าครึ่งรวมทั้ง การสร้างทัศนคติและทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดีจะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต
    จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี (ปี58-60) พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 51.1 48.5 และ 47.1 ภาคใต้ พบเด็กเด็กอายุ 3 ปี (ปี58-60) ปราศจากฟันผุร้อยละ 43.6 45.8 และ 43.0 จังหวัดตรัง  เด็กอายุ 3 ปี (ปี57-59) ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.8 44.7 และ 43.09
    และจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากย้อนหลัง 3 ปี (ปี 58-60) ของอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.4 58.4  และ 58.71 จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรม ทันตสุขภาพปี 2560 พบว่า ร้อยละการแปรงฟันในตอนเช้า ของเด็กปฐมวัย ระดับประเทศร้อยละ 86.8 ภาคใต้ 88.3 จังหวัดตรัง84.7 และอำเภอสิเกา 85. ร้อยละของผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กปฐมวัยระดับประเทศ 42.5 ภาคใต้ 38.1 จังหวัดตรัง 45.7 และอำเภอสิเกา 44.8 ร้อยละการดื่มนมรสหวาน และรสเปรี้ยวระดับประเทศ 44.5 ภาคใต้ 44.2 จังหวัดตรัง 44.7 อำเภอสิเกา 43.1 และพฤติกรรมของการดูดนมจากขวดระดับประเทศ 39.5 ภาคใต้ 37.8 และจังหวัดตรัง 37.4 และอำเภอสิเกา 33.5     ในภาพรวมเด็กกลุ่มนี้ปราศจากฟันผุมากขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์การสำรวจพฤติกรรมพบว่ามีข้อพฤติกรรมบางอย่างของผู้ปกครองในอำเภอสิเกาที่ยังต้องปรับเปลี่ยน เช่นร้อยละการแปรงฟันในตอนเช้าของเด็กปฐมวัยยังน้อยกว่าระดับประเทศ และระดับภาค การรักษาโรคฟันผุในเด็กเล็กนั้นทำได้ยาก เพราะเด็กไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ในการรักษา ผู้ปกครองบางท่านไม่ให้ความสนใจที่จะพาเด็กมารับบริการ เนื่องจากการนำเด็กเล็กมารับบริการนั้นผู้ปกครองอาจจะต้องหยุดงานทำให้ขาดรายได้ ผู้ปกครองบางคน จึงไม่สามารถพาเด็กมารับบริการได้หรือมารับบริการได้แต่  ไม่ต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาโรคฟันน้ำนมผุเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กนั้นสามารถ ทำได้ง่ายกว่าแนวทางการควบคุมและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ประการสำคัญคือการลดเชื้อโรค ในช่องปาก โดยการทำความสะอาดช่องปาก การควบคุมอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน และส่งเสริมการใช้ฟลูออไรด์รวมถึงการรักษาหากมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการป้องกันสาเหตุการเกิดโรคนั้น สามารถดำเนินการโดยตรงได้จากผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัว
ดังนั้นทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสิเกาจึงได้จัดทำโครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี  ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูกได้ถูกต้อง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา
  2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน
  3. เพื่อให้ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
  4. เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ ทาฟลูออไรด์วานิช

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา -หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน
  2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี -พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน -เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม 3. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้ เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา -หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน

วันที่ 10 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. สำรวจ จำนวนและรายชื่อประชากร เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินโครงการ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และประชาสัมพันธ์ 3.ตรวจสุขภาพช่องปาก และให้ทันตสุขศึกษา แก่หญิงตั้งครรภ์ 4.ฝึกทักษะการแปรงฟัน ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟันแก่หญิงตั้งครรภ์
  3. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อหิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม 3. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้

 

25 0

2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี -พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน -เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

วันที่ 19 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี
1. สำรวจ จำนวนและรายชื่อประชากร เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินโครงการ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และประชาสัมพันธ์ 3.ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง  และเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่บุตรหลาน 4.ทาฟลูออไรด์วานิช ในเด็ก 6 เดือน -2 ปี 5. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อหิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี  รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน
100.00

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของ หญิงตั้งครรภ์สามารถสาธิตย้อนกลับวิธีการแปรงฟันได้ถูกต้อง
50.00

 

3 เพื่อให้ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่บุตรหลาน
100.00

 

4 เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ ทาฟลูออไรด์วานิช
ตัวชี้วัด : เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ ทาฟลูออไรด์วานิช
70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 135
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา (2) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน (3) เพื่อให้ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน (4) เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ  ทาฟลูออไรด์วานิช

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์        -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา -หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน (2) เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี  -พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน -เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L8429-01-08

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางอาภรณ์ แสงแก้ว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด