กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ


“ ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564 ”

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสาวกฤติยาภรณ์ สีมัสมิง

ชื่อโครงการ ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3333-02-02 เลขที่ข้อตกลง 01/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 64-L3333-02-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 9,900.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมักจะเกิดในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2564 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาลมีการคัดกรองความดันจำนวน 314 คน พบกลุ่มปกติจำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 76.11 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.37 พบเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 มีอัตราเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 (HDCสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง)ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยง ถ้าไม่ได้รับการดูแล หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาระต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง ก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตปกติ ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อย ๆ นำไปสู่ภาวการณ์เสื่อมสภาพของร่างกายและจิตใจ รวมทั้งก่อให้เกิดความบกพร่องในการสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ข้อเสื่อม ข้อติด รวมทั้งโรคจากความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวและการใช้แรงกายลดลง จากกลุ่มเสี่ยงที่มาจากการคัดกรอง พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 54.84
การออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งได้นำเอา หลักการ ดาน ( DAN = การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ทำให้น่ามอง น่าดู ดูดี D = Diet = ลดน้ำหนักด้วยการคุมอาหาร , A = Activity = การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา การออกกำลังกาย , N = Nice = น่าดู น่ามอง ดูดี อ้างอิงจาก ชมรมฅนบางตาล ดานทุกข์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล)และหลักการ ชวน (CHOUN= เครือข่ายสุขภาพชุมชนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว C = Community = ชุมชน , H = Health = สุขภาพ , O = One = หนึ่งเดียว , U = Union = รวมกัน N = Network = เครือข่าย อ้างอิงจาก ชมรม ฅนเกาะยวนชวนขยับกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล)มาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 2 และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านเกาะยวน ซึ่งเป็นพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพแข็งแรง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง
  2. เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีการออกกำลังกาย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกาย
  3. ประเมินผลและสรุปผล
  4. วัดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
  5. วัดความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
  6. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง
  2. มีการสร้างแกนนำออกกำลังกาย
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการบริโภคอาหารที่ลดปัจจัยเอื้อต่อโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำออกกำลังกาย จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 89.29 3.ประชาชนกลุ่่มเสี่ยงมีค่าความดันโลหิตลดลง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70
0.00

 

2 เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 20 กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง (2) เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีการออกกำลังกาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม (2) ออกกำลังกาย (3) ประเมินผลและสรุปผล (4) วัดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ (5) วัดความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ (6) มอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3333-02-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวกฤติยาภรณ์ สีมัสมิง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด