กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ”

ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
(นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L7250-1-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L7250-1-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 79,110.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ เป็นต้น ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ มีพื้นที่รับผิดชอบ 10 ชุมชน ประชากรในพื้นที่ประมาณ 4,714 คน มีจำนวน 2,230 หลังคาเรือน คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย จากการสำรวจมีทั้งร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอย เป็นจำนวนมาก    วิถีชีวิตคนในเมืองโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้
จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ในปี 2563 พบปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวนผู้ป่วย 1,026 คน โรคเบาหวาน จำนวนผู้ป่วย 735 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง จำนวนผู้ป่วย 120 คน ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆ มาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อเร่งรัดการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและลดการเกิดโรครายใหม่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมกับสภาพปัญหาต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำสุขภาพมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่
  2. 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
  3. 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่
  4. ๔. เพื่อตรวจประเมินและสำรวจข้อมูลสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,305
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองครอบคลุมตามกลุ่มวัยในทุกชุมชน
    2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    3. ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่
    4. ร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแกนนำสุขภาพ และ อสม. ในพื้นที่เพื่อระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน
    2. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    3. กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 30 ปีขึ้นไป ในชุมชนที่รับผิดชอบ (แบบบันทึกคัดกรองความเสี่ยง)
    4. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งติดตามภาวะความดันโลหิตที่บ้าน ในระยะ 1 เดือน เป็นรายบุคคลที่บ้านและให้คำแนะนำรายบุคคล
    5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อและการป้องกันโรคแทรกซ้อน กิจกรรมชมรมเฟื่องฟ้า
    6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก /บอกเล่าประสบการณ์
      1. กิจกรรมตรวจร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ โดยประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
      2. การประเมินผล สรุปโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน
      3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข อสม. และแกนนำสุขภาพ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 6 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 23 กุมภาพันธ์  2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 20 พฤษภาคม  2565 ครั้งที่ 3 วันที่ 20 มิถุนายน  2565 ครั้งที่ 4 วันที่ 20 กรกฎาคม  2565 ครั้งที่ 5 วันที่ 22 สิงหาคม    2565 ครั้งที่ 6 วันที่ 20 กันยายน  2565
      4. กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนที่รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 150 คน มีการติดตามผลได้ จำนวน 32 คน คิดเป็น ร้อยละ 21.33
      5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการป้องกันโรคแทรกซ้อนกิจกรรมชมรมเฟื่องฟ้า ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 3 มีนาคม  2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 9 เมษายน  2564
      6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/บอกเล่าประสบการณ์ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 1 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 20 กันยายน  2565
      7. กิจกรรมตรวจร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ณ เขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 10 มีนาคม  2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม  2564 ครั้งที่ 3 วันที่ 9  เมษายน  2564 ครั้งที่ 4 วันที่ 13 สิงหาคม  2564

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำสุขภาพมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 กลุ่มแกนนำสุขภาพสามารถให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน
    100.00 100.00
    • กลุ่มแกนนำสุขภาพสามารถให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน ร้อยละ 100
    2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตลดลง
    80.00 21.33
    • กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 21.33 (กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คน ติดตามได้ จำนวน 32 คน)
    3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่
    ตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 80 กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
    80.00 100.00
    • กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100
    4 ๔. เพื่อตรวจประเมินและสำรวจข้อมูลสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : ๔. ร้อยละ 80 ร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
    80.00 100.00
    • ร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ร้อยละ 100

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1305 1305
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ 0
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,305 1,305
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำสุขภาพมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ (2) 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน (3) 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ (4) ๔. เพื่อตรวจประเมินและสำรวจข้อมูลสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 64-L7250-1-07

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( (นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด