กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพุงลดโรคในวัยทำงาน ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4113-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ธันวาคม 2563 - 30 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน เซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆ จากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็มเพิ่มขึ้นรับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย ในปี 2563 ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่า เพศชายมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 34 และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ร้อยละ 58 ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากผลการคัดกรองสุขภาพประชาชนวัยทำงาน ปี 2563 ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านโฉลง ประจำปี 2563 พบว่าประชาชนในวัยทำงาน มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และประชากรหญิงมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าประชากรชาย สาเหตุที่พบภาวะอ้วน คือ พฤติกรรมการบริโภค ค่านิยมการทานอาหารโดยเดฉพาะงานเลี้ยงต่างๆเช่น งานบุญ งานแต่งงาน และทานปริมาณมากในมื้อเย็น พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม อาหารทอด อาหารจำพวกแป้ง น้ำอัดลมและขาดการเคลื่อนไหวหรืออกกำลงกายอย่างเพียงพอ ซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงสำเร็จด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามวิถีชีวิตและสุขภาวะประชาชนในชุมชน
    ดังนั้น สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการลดพุง ลดโรคในวัยทำงาน ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงานอายุ 30 – 45 ปี ให้มีค่าดัชนีมวลกายปกติ
  1. ประชาชนวัยทำงานช่วงอายุ 30-45 ปีได้รับการคัดกรองภาวะน้ำหนักเกิน(BMI) รอบเอว ไม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1.00
2 2. เพื่อลด ประชากรในวัยทำงาน ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

2.ร้อยละของประชากร ในวัยทำงาน ที่มีภาวะ น้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง ลดลง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 10,200.00 0 0.00
30 ธ.ค. 63 - 30 ม.ค. 64 ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบ จำนวน 2 ครั้ง ก่อนดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ 60 0.00 -
4 ม.ค. 64 1. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความ ตระหนักในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในเรื่องอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ภายในสถานบริการ 60 10,200.00 -

1.ชี้แจงให้กลุ่มเป้าหมายให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคอ้วน
2.อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในเรื่องอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ภายในสถานบริการ
- .ให้ความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหารแก่กลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินโดยการใช้สื่อการสอน
- .แลกเปลี่ยนเรียนรู้การรับประทานอาหารที่ถูกต้องแก่กลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินโดยใช้โมเดลอาหาร
- .ฝึกทักษะการเลือกรับประทานอาหารแก่กลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกิน โดยใช้ชุดอาหารสาธิต
- .จัดสถานที่ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง/ประเมินดัชนีมวลกายและวัดรอบเอว อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจภาวะเสี่ยงของตนเองและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีและมีค่าดัชีมวลกายปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 10:23 น.