กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางของเด็กนักเรียนในโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L1504-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันได
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,002.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสรพงษ์ ทวีรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 67 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่ง ทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันไดมีโรงเรียนในเขตรับผิดชอบจำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านคลองปะเหลียน มีนักเรียน ระดับ ป.1 ถึง ป.6 จำนวน 66 คน ได้รับการเจาะเลือดคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในปีการศึกษา 2563 แล้วพบว่านักเรียนมีภาวะซีด จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และโรงเรียนบ้านท่าบันไดมี นักเรียน ป.1 ถึง ป.6 จำนวน 85 คน ได้รับการเจาะเลือดคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในปีการศึกษา 2563 แล้วพบว่านักเรียนมีภาวะซีด จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 40 รวมจำนวนนักเรียน ระดับ ป.1 ถึง ป.6 ทั้ง 2โรงเรียนมีจำนวน 151 คน ซึ่งได้รับการเจาะเลือดคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในปีการศึกษา 2563 แล้วพบว่านักเรียนมีภาวะซีด จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 44.37   ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันไดตระหนักถึงความสำคัญการคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและหามาตรการเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนตั่งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันได มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจางพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษา

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดมีความรู้ในการดูแลบุตรที่ถูกวิธี

 

0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีภาวะซีด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ประสานงานและขอความร่วมมือจากหน่วยงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง   3.2 สำรวจข้อมูลเด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดในโรงเรียน โดยการเจาะเลือดนักเรียนเพื่อวัดค่าฮีมาโตคริต เทียบกับเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง   3.3 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ   3.4 ดำเนินการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะซีด     - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาแก่ผู้ปกครองเรื่องภาวะซีดในนักเรียน       - จ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กให้เด็กที่มีปัญหาภาวะซีดรับประทานทุกวันๆละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 1 เดือน     - เจาะเลือดนักเรียนที่มีปัญหาภาวะซีดครั้งที่ 2 หลังจากรับประทานยาครบ 1 เดือน
    - ส่งต่อนักเรียนที่มีภาวะซีดซ้ำหลังจากเจาะเลือดครั้งที่ 2 ไปยังโรงพยาบาลย่านตาขาว เพื่อหาสาเหตุ อื่นต่อไป และ อสม.พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีภาวะซีดซ้ำหลังจากเจาะเลือดครั้งที่ 2   3.5 ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษา   2. นักเรียนที่มีภาวะซีดมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 09:08 น.