กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเสยะวอ


“ โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ”

ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายซอไอมิง ปีแนบาโง

ชื่อโครงการ โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

ที่อยู่ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-L3057-1-09 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเสยะวอ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 64-L3057-1-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 13,275.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเสยะวอ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบัน การบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีความหลากหลายมากขึ้น การดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตฉุกเฉินจากอุบัติเหตุ และภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งภาวะวิกฤตฉุกเฉินต่างๆจำเป็นต้องได้รับการ  ประเมินอาการและการช่วยเหลือ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีเพื่อไม่ให้ผู้บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บ หรือพิการ เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกวิธี ดังนั้นการดูแลและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้พบเห็นคนแรกที่จะสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนนำส่งสถานพยาบาลที่มีศักยภาพต่อไป
ภาวะหัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) เป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทั่งไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้น การไหลเวียนโลหิตภายในร่างกานหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนเลี้ยงส่วนของร่างกายไม่เพียงพอ เซลล์ต้องใช้การเผาผลาญพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะความเป็นกรด นำไปสู่ความผิดปกติทั้งที่อวัยวะและเซลล์และเมื่ออวัยวะและเซลล์ขาดออกซิเจนเลี้ยงนานๆจะทำให้สูญเสียการทำงานอย่างถาวร โดยสมองจะเกิดความเสียหายหากขาดเลือดเกิน 4 นาที และหากสมองขาดเลือดนานเกิน 12 นาที ก้านสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการหายใจจะเสียหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถหายใจเองได้เนื่องจากเกิดภาวะสมองตาย และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุดหากไม่ได้รับการแก้ไขภายในระยะเวลาเป็นนาที โดยภาวะหัวใจหยุดเต้นนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่พบส่วนใหญ่มี 2 สาเหตุหลักโดยสาเหตุแรกเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคหัวใจอยู่เดิมโดยเจ้าตัวอาจไม่ทราบ หรือไม่เคยตรวจมาก่อน มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มักพบว่าหัวใจจะเต้นผิดปกติชนิดที่สั่นพลิ้วไม่มีแรงบีบตัวเพื่อให้เลือดออกจากหัวใจ (Ventricular Fibrillation : VF) ซึ่งในภาวะปกติหัวใจจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ ซึ่งจะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย แต่เมื่อเกิดหัวใจเต้นผิดปกติชนิดVF กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกจากหัวใจจะเร็วและไม่เป็นจังหวะจนทำให้หัวใจไม่บีบตัวและเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้ ส่วนสาเหตุที่ 2 คือ การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายจากระบบการหายใจล้มเหลว เช่น หยุดหายใจ ทางเดินหายใจอุดกั้น จมน้ำ การได้รับสารพิษ การได้รับยาเกินขนาด    ไฟฟ้าช๊อต รวมทั้งการขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ เช่น การได้รับบาดเจ็บรุนแรง การเสียเลือดในปริมาณมาก เป็นต้น         ในปัจจุบันจากการทำงานและเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี ปีงบประมาณ 2564 พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาลมีจำนวน 60 ราย ซึ่งในจำนวนที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล ได้รับการช่วยฟื้นคืน  ( Cardio Pulmonary Resuscitation: CPR ) โดยผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรก จำนวน 2 ราย คิดเป็น3.33% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติที่พบเห็นผู้ป่วย แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนมาโรงพยาบาลซึ่ง ปิยสกล สกลสัตยาธร พ.ศ.2559 กล่าวว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นมักเสียชีวิตทันทีหากไม่ได้รับการช่วยเหลือ และพบว่าการเริ่มช่วยฟื้นคืนชีพโดยผู้พบเห็นเหตุการณ์ (Bystander) ที่รวดเร็วเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย       การช่วยฟื้นคืนชีพ ( Cardio Pulmonary Resuscitation : CPR ) มี 2 ประเภท ได้แก่การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน( Basic Life Support: BLS) และการช่วยชีวิตขั้นสูง (Advance Life Support)
ซึ่งขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การนวดหัวใจ โดยไม่จำเป็นต้องเป่าปากร่วมด้วย วิธีการนวดหัวใจทำได้โดย วางสันมือข้างที่ถนัดไว้ตรงบริเวณกลางหน้าอกของผู้ป่วย และนำมืออีกข้างหนึ่งวางทับไว้ด้านบน ระหว่างทำการนวดหัวใจให้แขนเหยียดตรงตลอดเวลา จากนั้นให้ทำการกดหน้าอกให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว โดยทำการกด และปล่อยหน้าอกให้คืนตัวสุดก่อนการกดแต่ละครั้ง กดด้วยความเร็วอย่างน้อย 100-120 ครั้ง/นาที และพยายามทำการนวดหัวใจให้ต่อเนื่องกันให้มากที่สุด
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอและ กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี เห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้กับกลุ่มประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สามารถพัฒนาและฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบเหตุได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมฟื้นฟูวิชาการและการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูง
  2. ค่าป้ายไวนิล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมวิชาการและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นชีพขั้นพื้นฐาน ๒. กลุ่มเป้าหมายสามารถประสานงานกับเครือข่ายในการขอความช่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ๓. การขอความช่วยเหลือผ่านหมายเลข 1669 ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 4. สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมวิชาการและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นชีพขั้นพื้นฐาน
0.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
ตัวชี้วัด : สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมฟื้นฟูวิชาการและการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูง (2) ค่าป้ายไวนิล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-L3057-1-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายซอไอมิง ปีแนบาโง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด