กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ปีงบประมาณ2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ปีงบประมาณ2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โดยในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง โดยเปลี่ยนเป็นนิยม บริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสําเร็จ สถานที่จําหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสําคัญต่อสุขภาพ ประชาชน เนื่องจากสถานที่จําหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทําให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ซึ่งกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารอาหารต้องดำเนินการตามกฏกระทรวงอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นตำบลที่มีโรงเรียนสำหรับจัดการเรียนการสอนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนรวมทั้งหมด 7 แห่ง ซึ่งในแต่ละวันโรงเรียนต้องจัดทำอาหารกลางวันเพื่อบริการแก่นักเรียน ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ รวมทั้งยังมีสถานที่จำหน่ายอาหารในชุมชนสำหรับจำหน่ายอาหารปรุงสุกเพื่อการบริโภคที่ครัวเรือน และบริเวณสถานที่จำหน่ายอาหาร จึงจำเป็นต้องมีการจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะอาดและปลอดภัยในด้านโครงสร้าง กายภาพ ชีวภาพและเคมีแก่ผู้บริโภค ปราศจากสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ (Foodborne diseases) รวมทั้งสารเคมีหรือโลหะหนักด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการจัดการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย 3. เพื่อให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนและผู้บริโภค ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ ถูกต้องตามเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร

1.โรงเรียนในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาการ ร้อยละ 80
2.ร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Taste (อาหารสะอาดรสชาติอร่อย) ≥ 2 แห่ง/ตำบล
3. ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร และผู้สัมผัสอาหารได้รัการอบรมการจัดการสุขาภิบาลอาหารตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ร้อยละ 80

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2) ในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร / ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11) ในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2) ในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร / ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11) ในโรงเรียนและร้านจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร(SI-2)

- ร้านอาหาร (SI-2)15 บาท/ขวด x 10 ขวด/ร้าน x 30 ร้าน= 4,500.-บาท
- โรงเรียน (SI-2)15 บาท/ขวด x 10 ขวด/โรงเรียน x 7 แห่ง= 1,050.-บาท
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก15 บาท/ขวด x 10 ขวด/ศพด. x 7 แห่ง= 1,050.-บาท
2. น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11)
- ร้านอาหาร (SI-2)15 บาท/ขวด x 2 ขวด/ร้าน x 30 ร้าน = 900.-บาท
- โรงเรียน (SI-2)15 บาท/ขวด x 2 ขวด/โรงเรียน x 7 แห่ง = 210.-บาท
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก15 บาท/ขวด x 10 ขวด/ศพด. x 4 แห่ง = 600.-บาท
3. ชุดตรวจวัดค่าแบคทีเรียในอาหารพร้อมอุปกรณ์การตรวจ (SI-2) 850 บ/ชุด x 2 ชุด = 1,700.-บาท
4. ชุดตรวจวัดค่าแบคทีเรียในน้ำพร้อมอุปกรณ์การตรวจ (อ.11)550 บ./ชุด x 2 ชุด = 1,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 1 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารเข้าใจหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
2.ผู้บริโภคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
3.โรงเรียนในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง เห็นความสำคัญของการจัดอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11110.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 อบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 แก่ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหารในโรงครัวโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่จำหน่ายอาหาร (จำนวน2 รุ่นรุ่นละ50 คน เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคโคโรน่า-2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 อบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 แก่ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหารในโรงครัวโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่จำหน่ายอาหาร (จำนวน2 รุ่นรุ่นละ50 คน เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคโคโรน่า-2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x 50 บาท x 1 มื้อ =  5,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 5,000.-บาท
  • ค่าที่พักวิทยากร 2 คืน x 1,200 บาท x 1 คน = 2,400.-บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรภายนอก 600 บาท x 12 ชั่วโมง x 1 วัน = 7,200.-บาท
  • ค่าจ้างทำประกาศนียบัตร 100 อัน x 50 บาท = 5,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2564 ถึง 6 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารเข้าใจหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
2.ผู้บริโภคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
3.โรงเรียนในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง เห็นความสำคัญของการจัดอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารเข้าใจหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
2.ผู้บริโภคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
3.โรงเรียนในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง เห็นความสำคัญของการจัดอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล


>