กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สร้างเสริมวีถีชีวิตใหม่ห่างไกลโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง ต.ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

1. นางอามีนะห์ เหละดุวี
2. นางภัศราภรณ์ มามะ
3. นางสาวซะรีฟะอ์ อูมา

ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

50.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

 

50.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

50.00
4 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

50.00
5 ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19

 

95.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

50.00 90.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

50.00 80.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

50.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

50.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของกลุ่มเป้าหมายให้ทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ ทุก ครึ่ง -1 ชั่วโมง รวมทั้งการงดยาเสพติดและบุหรี่
  2. รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อต่างๆ 3.เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่แพทย์เมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
  3. อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%

- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 180 คนๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 9,000.-บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด2x2 เมตรตารางเมตรละ 250 บาทจำนวน 1 ผืนเป็นเงิน1,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 21 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวตามวิถีชีวิตใหม่ เพื่อห่างไกลโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน
  2. สมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค มีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อต่างๆ 3.ประชาชนในพื้นที่มีความพร้อมต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่แพทย์เมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการป้องกัน เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการป้องกัน เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาเจลล้างมือ และหน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก 1. ค่าเจลแอลกอฮอร์ 500มิลลิลิตร ราคา 350 บาท X 20ขวด เป็นเงิน 7,000.-บาท 2. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 10กล่อง X 75บาท เป็นเงิน 750.-บาท 3. ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก จำนวน 2 เครื่องๆละ 1,500บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกในชุมชนมีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆในการคัดกรอง ป้องกันโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจ ใช้ในสถานที่ส่วนรวม เช่น สุเหร่า โรงเรียนตาดีกา สถานที่ออกกำลังกาย ฯลฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10750.00

กิจกรรมที่ 3 กำหนดมาตรการชุมชนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19และโรคระบบทางเดินหายใจ

ชื่อกิจกรรม
กำหนดมาตรการชุมชนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19และโรคระบบทางเดินหายใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมแกนนำชุมชนเพื่อกำหนดมาตรเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19และโรคระบบทางเดินหายใจ
  • แกนนำติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรการ ด้วยการตอบสอบถาม สัมภาษณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 25 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนมีมาตรเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19และโรคระบบทางเดินหายใจ
  2. ชุมชนมีการปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 แจกจ่ายอาหารจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชน ช่วงการระบาดของโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
แจกจ่ายอาหารจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชน ช่วงการระบาดของโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดถุงริสกีและแจกจ่ายถุงริสกีแก่ผู้ยากไร้ในชุมชน ช่วงการระบาดของโควิด จำนวน 5 ถุง x 500 บาท 2.แจกจ่ายถุงริสกีแก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ยากไร้ในชุมชนได้รับการช่วยเหลือให้เข้าถึงอาหาร ช่วงการระบาดของโควิด-19 ร้อยเปอร์เซ็นต์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการปฏิบัติตัวตามวิถีชีวิตใหม่ เพื่อห่างไกลโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน
2. สมาชิกในชุมชนได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจ


>