กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ ปลอดภัย อนามัยดี ด้วยผักปลอดสารพิษกับผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กลุ่มนังวากรีน11หมู่ที่ 2 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

1.นางฟาซีซะ ฮายีบูระ 0630891055
2.นายสุทธิพงษ์สังข์ผล 0630971820
3.นางสาวนูรีดา สาแม 0985077791
4.นางสาวสุไลดา อาลี 0930353637
5.นางสาวอัสมะห์สาเม๊าะ 0981486312

1.โรงเรียนวัดหน้าถ้ำ2.โรงเรียนบ้านบันนังลูวา ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยพื้นที่ชุมชนตำบลหน้าถ้ำและพื้นที่ใกล้เคียง ชาวบ้านมีอาชีพทำการเกษตร บางคร้ังจำเป็นต้องใชัสารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในแปลงเกษตรและสวนผลไม้ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุภาพของคนในชุมชน และเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดหน้าถ้ำและโรงเรียนบัานบันนังลูวาทั้ง 2 โรงเรียน อีกทั้งการที่ผู้ปกครองนักเรียนซื้อผักปนเปรื้อนสารเคมีจากตลาดมาประกอบอาหารในครัวเรือนทำให้เยาวชนและเด็กนักเรียนได้รับ สารเคมีสะสม ตกค้างในร่างกายส่งผลต่อสุภาพและอนามัยของเยาวชนและเด็กนักเรียนทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากการป่วยการขาดเรียน ส่งผลให้คุุณภาพชีวิตและอารมณ์ของเด็กและเยาวชนแย่ลง อีกทั้งครอบครัวเด็กและเยาวชนทั้ง 2 โรงเรียนยังมีรายได้น้อยทำให้ต้อง เร่งรีบในการประกอบอาชีพขาดเวลาในการดูแลด้านโภชนาการอาหารของเด็กและเยาวชนในครอบครัว ซึ่งส่งผลให้เด็กและเยาวชนขาดสารอาหารหลักในการพัฒนาด้านร่างกายและยังรับสารพิษตกค้างในร่างกาย
ดังนั้นทางคณะทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านชาสมุนไพรตำบลหน้าถ้ำ จีงมีแนวคิดจัดทำแผนงานเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าถ้ำ มาจัดทำ
โครงการส่งเสริมสุขภาพ ปลอดภัย อนามัยดี ด้วยผักปลอดสารพิษตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ในโรงเรียนตำบลหน้าถ้ำ เพื่อให้บุคลากรและผู้ปกครองนักเรียนวัดหน้าถ้ำ และนักเรียนบ้านบันนังลูวาทั้ง 2 โรงเรียน ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพ การทำการเกษตรปลอดภัยการสร้างรายได้ครัวเรือนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในครอบครัวและชุมชน ตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ อีกทั้งยังส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มเยาวชน
ผู้ปกครอง นักเรียนในการจัดทำแปลงผักปลอดสารถายในโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน ส่งต่อกิจกรรม จากโรงเรียน สู่บ้าน สู่ชุมชน ปลอดภัย ปลอดสารพิษชุมชนสีขาว(ชุมชนสุภาพดี)ตลาดสีขียว(ตลาดชุมชนผักปลอดสารพิษ)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าถ้ำและโรงเรียนบ้านบันนังลูวา จำนวน 200 คน ให้ได้รับประทานผักปลอดสาร คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน
2.เพื่อให้ผู้ปกครอง บุคคลาการในโรงเรียนและชุมชนรับทราบพิษภัยและการลดละการใช้สารเคมีที่ส่งผลต่สุภาพของเด็กและเยาวชนในชุมชนจำนวน 100 คน
3.จัดตั้งเครือข่ายเด็กและเยาวชนในชุมชน ครอบครัวปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร รณรงค์การลดละการใช้สารเคมีในครัวเรือนและชุมชน ทั้ง 2 โรงเรียน จำนวน 40 คน ( โรงเรียนละ 20 คน )
4.เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ครอบครัวเด็กนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียนจากการจำหน่ายผักปลอดสารเคมี คิดเป็นร้อยละ 10 ของรายได้ตรอบครัวที่เพิ่มขึ้น
5.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในกิจกรรมเพื่อลดปัญหาเด็กติดเกมและปํญหายาเสพติดในครัวเรือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 01/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโรงการจำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1.บุคลากรในโรงเรียนวัดหน้าถ้ำจำนวน2คน 2.บุคลากรในโรงเรียนบ้านบันนังลูวาจำนวน2คน 3.ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน6คน 4.ตัวแทนนักเรียน จำนวน6คน 5.ตัวแทนชุมชน จำนวน4คน ค่าใช้จ่าย 1. ค่าเอกสารจำนวน 40 ชุด ชุดละ 10 บาท จำนวน 3 ครั้ง(ตลอดโครงการ) เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 ชุด ชุดละ 35 บาท จำนวน 6 ครั้ง(ตลอดโครงการ) เป็นเงิน 4,200 บาท 3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.5 ตารางเมตร จำนวน 3 ผืน ราคา 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะกรรมการรับทราบข้อมูลโครงการกับแนวทางการดำเนินโครงการในกิจกรรมต่างๆตามบทบาทหน้าที่ 2.เกิดแผนการทำงานที่สามารถตรวจสอบติดตามผลการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเคร่งครัดในการจัดทำ 3.เกิดกระบวนการเรียนรู้แนวทางการทำงานและแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันแบบบูรณาการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเก็บผลข้อมูลด้านต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. การอบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร ตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2. การอบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร ตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสารตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน4 รุ่น รุ่นละ 40 คน แบ่งออกเป็น 1.1 อบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสารตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนวัดหน้าถ้ำ จำนวน 40 คน1.2 อบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสารตามหลักศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านบันนังลูวา จำนวน 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2564 ถึง 1 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อแจ้งและวิธีการแผนงานโครงการส่งเสริมสุขภาพ ปลอดภัย อนามัยดี ด้วยผักปลอดสารพิษตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ในโรงเรียนตำบลหน้าถ้ำ จำนวน 160 คน ให้เกิการรับรู้ 2.สร้างการมีร่วมออกแบบเสนอเนวความคิดในการจัดการตามแผนดำเนินงานอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียนและชุมชน 3.สร้างองค์ความรู้ในการผลิตพืช ผักปลอดสารเคมี 4.จัดตั้งเครือข่ายเด็กและเยาวชนในชุมชน ครอบครัวปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร รณรงค์การลดละการใช้สารเคมีในครัวเรือนและชุมชนจำนวน 40 คน
ค่าใช้จ่าย 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ขั่วโมงๆละ 600 บาท(1,200 บาท) จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 2,400 บาท 2.ค่าเอกสารจำนวน 40 ชุดๆละ 10 บาท (400 บาท) จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 800 บาท 3.ค่าอาหารว่างจำนวน 40 ชุดๆละ 25 บาท(1,000 บาท)จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 2,000 บาท 4.ค่าอาหารกล่องจำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท (2,000 บาท) จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน4,000บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่่ 3 การเรียนรู้นอกห้องเรียน ศาสตร์พระราชา(การปลูกผักปลอดสาพิษ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่่ 3 การเรียนรู้นอกห้องเรียน ศาสตร์พระราชา(การปลูกผักปลอดสาพิษ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มอบปัจจัยการผลิตผักปลอดสารพิษ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร แก่โรงเรียนวัดหน้าถ้ำ 2.มอบปัจจัยการผลิตผักปลอดสารพิษ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร แก่โรงเรียนบ้านบันนังลูวา 3.กิจกรรมลงแขกปลูก ต้นกล้าสุขภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร จำนวนผูเข้าร่วม 40 ท่าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ธันวาคม 2564 ถึง 1 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผลิตผักปลอดสารพิษเป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียนโรงเรียนวัดหน้าถ้ำและโรงเรียนบ้านบันนังลูวา 2.ให้นักเรียนเรียนรู้และทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษช่วยในการส่งเสริมการออกกำลังยามเช้าและเย็นทำใ้สุภาพดีขึ้นทั้ง 2 โรงเรียน 3.เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุภาพจากการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนและชุมชน ทั้ง 2 โรงเรียน 4หมู่บ้าน ผ่านกิจกรรมการปลูกต้นกล้าสุภาพ ค่าใชัจ่าย 1.มอบปัจจัยการผลิต -ต้นกล้าผักจำนวน 100 ต้น/1ถาดเพาะๆละ150 บาท จำนวน 10 ถาดเพาะ  เป็นเงิน           1,500  บาท -บัวรดน้ำ  ใบละ 80 บาท                                    จำนวน 10 อัน         เป็นเงิน               800 บาท - คลาดดายหญ้า  อันละ 200 บาท                         จำนวน 4  อัน         เป็นเงิน               800 บาท - จอบ   ด้ามละ 250 บาท                                    จำนวน 4 ด้าม        เป็นเงิน              1,000 บาท - พิชมอส(วัสดุเพาะกล้า) กระสอบละ 450 บาท         จำนวน 4 กระสอบ   เป็นเงิน              1,800 บาท - เเมล็ดพันธุ์ผัก ซองละ 15 บาท                            จำนวน 100 ซอง    เป็นเงิน               1,500 บาท - ถาดหลุมเพาะเมล็ด อันละ 20 บาท                       จำนวน  100 อัน     เป็นเงิน               2,000 บาท - ปุ๋ยคอก  กระสอบละ 60 บาท                              จำนวน   20 กระสอบ เป็นเงิน              1,200 บาท - ดินปลูกผสม กระสอบละ 30 บาท                          จำนวน   100 กระสอบ เป็นเงิน           3,000 บาท - ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ก้อนละ 15 บาท                       จำนวน  200 ก้อน      เป็นเงิน           3,000 บาท 2.กิจกรรมลงแขกปลูก ต้นกล้าสุขภาพ โรงเรียนปลอดภัย ชุมชนปลอดสาร จำนวนผูเข้าร่วม 40 ท่าน
ค่าใชัจ่าย - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท                               จำนวน  2 ชั่วโมง       เป็นเงิน            1,200 บาท - ค่าเอกสาร ชุดละ 15 บาท เป็นเงิน                            จำนวน  40 ชุด          เป็นเงิน               600 บาท - ค่าเบรค ของว่าง ชุดละ 25 บาท                               จำนวน   40 ชุด         เป็นเงิน            1,000  บาท - ค่าอาหารกล่อง ชุดละ 50 บาท                                 จำนวน   40 ชุด         เป็นเงิน            2,000  บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,800.00 บาท

หมายเหตุ :
*กิจกรรมการมอบปํจจัยการผลิตผักปลอดสารพิษให้กับนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เป็นแหล่งผลิตผักปลอดสารฺพิษให้กับชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้าน
2.เป็นคลังอาหารชุมชนในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิค
3.เป็นการสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาในโรงเรียนและชุมชนและสารถเป็นแหล่งเรียนรู้
4.เป็นต้นแบบการผลิตผักปลอดสารพิษในการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียง


>