กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นหนึ่งในเมืองต้นแบบตามโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” บนแนวนโยบายที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้และเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนายอำเภอเบตง ได้มีนโยบายสำคัญด้านต่างๆ เพื่อรองรับนโยบายเมืองต้นแบบด้านการท่องเที่ยว และบริการภายใต้การพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์เมืองสามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ความปลอดภัย อาหารสะอาดปลอดภัยราคาเป็นธรรม ที่พักถูกสุขลักษณะ เป็นต้น
ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ การท่องเที่ยวในตำบลอัยเยอร์เวงมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต มีประชาชนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากนอกจากประชาชนในพื้นที่แล้วยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา ซึ่งควรได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น ได้พักในที่พักที่สะอาด มีสภาพแวดล้อมที่ดี และปลอดภัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของตำบลอัยเยอร์เวงไปในทางที่ดีอีกด้วย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2560 - 2563 มีร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารเข้าร่วมโครงการสะสม จำนวนทั้งสิ้น 73 ร้าน/แผงลอย โดยได้จัดกิจกรรมอบรมผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร และลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามมาตรฐานร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CleanFoodGoodTaste: CFGT)ของกรมอนามัย และมอบ/ต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT) แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐาน ในปี 2563 มีร้านที่ได้รับการตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์จำนวนทั้งสิ้น 43 ร้าน/แผงลอย ทั้งนี้พบว่า ในแต่ละปีมีร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารมีการปรับปรุงและพัฒนาดีขึ้น แต่ยังต้องได้รับการติดตามประเมินผลทุกปีเพื่อพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้นในส่วนของที่พักในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง มีโฮมสเตย์/รีสอร์ท/ที่พัก จำนวน 37 แห่ง ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 1 – 32 ห้องการมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัย ความสะอาดของที่พัก ห้องน้ำ รวมถึงอาหารที่ให้บริการแก่ผู้เข้าพักก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ควรได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักในเรื่องความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น โดยให้ความสำคัญกับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและที่พักในพื้นที่เพื่อให้มีความสะอาด ความปลอดภัยต่อผู้รับบริการทั้งประชาชนในพื้นที่และผู้มาเยือนจากต่างพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร

80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ได้รับการตรวจประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

90.00
3 เพื่ออบรมให้ความรู้การจัดที่พักให้ได้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการโฮมเสตย์

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่มีความรู้ด้านการจัดที่พักให้ได้มาตรฐาน

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 97
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการจัดที่พักให้ได้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการโฮมสเตย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการจัดที่พักให้ได้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการโฮมสเตย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 45 คน X 50 บาท เป็นเงิน  2,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 45 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน  2,250 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมง เป็นเงิน  3,600 บาท
  • ค่าเดินทางวิทยากร    เป็นเงิน  1,000 บาท
  • ค่าเช่าที่พักวิทยากร    เป็นเงิน  1200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 37 คน × 35 บาท เป็นเงิน 1,295 บาท รวม  11,595 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ จำนวน 37 คน ได้รับการอบรมด้านการจัดที่พักให้ได้มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11595.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 65 คน X 50 บาท  เป็นเงิน  3,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 65 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน  3,250 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมงเป็นเงิน  3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 60 คน × 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท รวม   12,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร 60 คน ได้รับการอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12950.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2) จำนวน 15 กล่อง X 1,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจประเมิน เป็นเงิน  500 บาท
  • ค่าสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ 60 ร้าน X 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
    รวม  21,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 60 ร้าน ได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

กิจกรรมที่ 4 มอบและต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT) แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
มอบและต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT) แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,045.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร สามารถประกอบและจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย
2) ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/ร้านจำหน่ายอาหารสด มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน และได้รับป้ายรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร
3) ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน


>