กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

อสม.รพ.สต.บ้ายอุเผะ

1.นานิง ระสูมิง
2.สาลีนายามา
3.ยาฮารอ ลีลาตานา
4.สาลีหม๊ะ แลรูกา
5.มาสานายามา

ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ตำบลกรงปินัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย

 

40.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

40.00

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเรื่องการอยู่ไฟและดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพของสตรีเป็นอย่างยิ่งจนเห็นได้ว่าว่าภาวะตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงการคลอดร่างกายของแม่ที่ต้องโอบอุ้มลูกไว้ต้องรับภาระอย่างหนัก เจ็บปวดและเสียเลือดมากในเวลาคลอดบุตร หลังคลอดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพักฟื้นฟูและบำรุงร่างกายแม่อย่างเป็นระบบมีขั้นตอนและมีแนวปฏิบัติตัวและข้อห้ามไว้หลายประการเพื่อมุ่งหมายให้สุขภาพของแม่กลับคืนสู่ความสมบูรณ์จะได้มีพละกำลังในการเลี้ยงดูลูกให้เติบโตแข็งแรงหากไม่ดูแลหลังคลอดด้วยการอยู่ไฟจะทำให้สุขภาพไม่ดีในระยะยาวคือทำให้มีอาการหนาวสะท้านเมื่อถูกลมฝน ทำงานหนักไม่ได้มดลูกหย่อนมีการตกขาวร่างกายไม่แข็งแรงเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะไม่ได้ขับของเสียที่เกิดจากการคลอดออกให้หมดจึงกลับมาทำอันตรายเราเมื่ออายุมากขึ้นที่ร่างกายเริ่มอ่อนล้าลงทำให้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สมควรเป็นก็เป็นเช่นมะเร็งเบาหวานเป็นต้นแม้จะไม่มีการยืนยันข้อมูลเหล่านี้แต่ก็ควรป้องกันดีกว่าจะแก้เมื่อมีปัญหาเพราะการแก้จะลำบากกว่าการป้องกันดังนั้นจึงต้องมีการดูแลหลังคลอด ประโยชน์ในระยะใกล้คือ เพื่อขับน้ำคาวปลาช่วยให้มดลูกเข้าอู่ท้องยุบหน้าท้องไม่หย่อนยานท้องไม่ลายเลือดลมเดินสะดวกมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอไม่ปวดเมื่อยตามร่างกายผิวพรรณผ่องใส กระชับกล้ามเนื้อ ลดไขมันที่สะสมตอนตั้งท้องกล้ามเนื้อในระยะยาวจะช่วยให้สุขภาพดี ไม่มีอาการหนาวสะท้านเมื่อถูกลมฝนเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการมีลูกคนต่อไปหรือให้ดูเหมือนคุณแม่ยังสาว ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บปวดเมื่อยหรือเจ็บออดแอดเมื่ออายุมากขึ้นซึ่งปัญหาที่พบในระยะหลังคลอดที่จำเป็นต้องแก้ไขให้คลี่คลายในช่วงต้น อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ เล็งเห็นความสำคัญและเห็นควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องของการดูแลหลังคลอด จึงจัดทำโครงการการดูแลมารดาหลังคลอดให้สุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยนี้ขึ้นมาเพื่อให้หญิงหลังคลอดมีสภาพร่างกายกลับคืนความสมบูรณ์และสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งสดใส ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ อันเนื่องจากการคลอด ตลอดจนสามารถปฏิบัติตัวและบำรุงร่างกาย เพื่อให้สามารถให้น้ำนมแก่ลูกได้อย่างเพียงพอตลอดระยะเวลา 6 เดือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

40.00 40.00
2 ร้อยละ ของมารดาหลังคลอดได้รับการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย

ร้อยละ ของมารดาหลังคลอดได้รับการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

32.00 32.00
3 เพื่อให้ความรู้และปรับทัศนคติมารดาหลังคลอดในการดูแลสุขภาพหลังคลอดด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย

 

30.00 60.00
4 เพื่อให้อวัยวะต่างๆและสุขภาพร่างกายและจิตให้กลับคืนสู่ภาวะปกติสมบูรณ์โดยเร็ว

 

20.00 40.00
5 เพื่อให้ความรู้และปรับสภาพร่างกายมารดาหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดี่ยวอย่างน้อย6เดือน

 

40.00 70.00
6 เพื่อเน้นคุณค่าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยด้านการดูแลหลังคลอด

 

10.00 30.00
7 เพื่อเป็นการประยัด และเพิ่มสมรรถนะการพึ่งตนเองและลดการพึ่งพาทางด้านยาแผนปัจจุบัน

 

15.00 30.00
8 เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ และชุมชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

30.00 50.00

1. เพื่อให้ความรู้และปรับทัศนคติมารดาหลังคลอดในการดูแลสุขภาพหลังคลอดด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย
2. เพื่อให้อวัยวะต่างๆและสุขภาพร่างกายและจิตให้กลับคืนสู่ภาวะปกติสมบูรณ์โดยเร็ว
3. เพื่อให้ความรู้และปรับสภาพร่างกายมารดาหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดี่ยวอย่างน้อย6เดือน
4. เพื่อเน้นคุณค่าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยด้านการดูแลหลังคลอด
5. เพื่อเป็นการประยัด และเพิ่มสมรรถนะการพึ่งตนเองและลดการพึ่งพาทางด้านยาแผนปัจจุบัน
6. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ และชุมชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นเงิน 9,900 บาท 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและผู้ดำเนินการจำนวน40คน2มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม และผู้ดำเนินการ จำนวน40 คน มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท 1.3 ค่าวัสดุอบรม จำนวน 40 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 1.4 ค่าวิทยากรจำนวน6ชั่วโมง ๆละ300บาท เป็นเงิน1,800 บาท
1.5ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 2 เมตรราคา500บาท 1.6 ค่าอุปกรณ์ ในการทำกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1  ร้อยละ80 ของมารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวหลังคลอดตามวิถีการแพทย์แผนไทย 2  ร้อยละ  90  ของมารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการมีสภาพร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติสมบูรณ์ภายในระยะ 1  เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามมารดาหลังคลอดเพื่อมารับบริการการบริบาลดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามมารดาหลังคลอดเพื่อมารับบริการการบริบาลดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามมารดาหลังคลอดเพื่อมารับบริการการบริบาลดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดที่ รพ.สต.บ้านอุเผะ ดังนี้ 1.นวดประคบ 2.ทับหม้อเกลือ
3.เข้ากระโจม
4.อาบน้ำสมุนไพร
5.สอนการนวดเต้านมแก้ปัญหาน้ำนมไหลน้อย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มารดาหลังคลอดมีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาสุขภาพหลังคลอด มีน้ำนมไหลพอเพียงเพื่อลูกน้อย อย่างน้อย 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงหลังคลอดมีความรู้และทัศนคติในการดูแลสุขภาพหลังคลอดด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยที่ดีขึ้น
2.หญิงหลังคลอดมีสภาพร่างกายทีดีและมีความพร้อมเพื่่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดี่ยวอย่างน้อย6เดือน


>