กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยสมุนไพร ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล

นางสาววาสนาทรัพย์มีโทรศัพท์ ๐๘๑-๖๐๙๕๔๔๓

หมู่ที่ 1 ,3,7,10,12 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“สมุนไพร” ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
(1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัชกรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า “พืชสมุนไพร” มีความสำคัญและมีประโยชน์มากมาย ทั้งในการใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ ทั้งยังมีประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ในปัจจุบันมีการกำเนิดแพทย์แผนไทยขึ้นมาอย่างมากมาย จึงทำให้พืชสมุนไพรไทยเป็นที่นิยมเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนมีการส่งเสริมให้ชุมชนหลายที่หันมาเพาะปลูกพืชสมุนไพร ทั้งในการใช้ในครัวเรือนและการปลูกเป็นสินค้าเศรษฐกิจเพื่อจำหน่ายนำไปผลิตเป็นยาต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ได้เห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพร จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยสมุนไพร ปีงบประมาณ 256๔”ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของพืชสมุนไพรไทย เพื่อนำมาซึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยเน้นสมุนไพรที่พบบ่อยใน
ชุมชน เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม ว่านหางจระเข้ เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล

ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

0.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการดูแลรักษาด้วยสมุนไพร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเผยแผ่ความรู้ที่ได้รับให้กับชุมชนและคนรอบข้างได้

ประชาชนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้กับชุมชนและคนรอบข้างได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน จำนวน ๕๐ คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน จำนวน ๕๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร......๖๐๐.......บ.x..1…คน จำนวน 6 ชั่วโมง  ………3,600…………บาท    - ค่าอาหารกลางวันมื้อละ...80....บ.x..๕๐..คน    ………4,000………บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ...๒๕....บ.x..50…คนๆละ ๒ มื้อ ………2,500………บาท    - ค่าถ่ายเอกสารจัดการอบรม  ชุดละ  ๒0 บาทจำนวน 5๐ ชุด  ………1,000………..บาท    - ค่าวัสดุสาธิตพืชสมุนไพรให้แก่ผู้เข้าอบรม       -ค่ากระถางและดินผสมสำหรับปลูก  ๔,๐๐๐  บาท       -ค่าป้ายชื่อและสรรพคุณของสมุนไพร  ๓,๐๐๐  บาท       -ค่าพันธุ์ไม้สมุนไพร  2,000  บาท    - ค่าวัสดุไวนิล ขนาด ๑x๓ ตารางเมตรๆละ 150 บาท จำนวน ๑ ผืน  ๔๕๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล 2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ 3. ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการดูแล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ
3. ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการดูแล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>