กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยสมุนไพร ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5281-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 20,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสนา ทรัพย์มี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“สมุนไพร” ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ (1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัชกรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน (2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า “พืชสมุนไพร” มีความสำคัญและมีประโยชน์มากมาย ทั้งในการใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ ทั้งยังมีประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ในปัจจุบันมีการกำเนิดแพทย์แผนไทยขึ้นมาอย่างมากมาย จึงทำให้พืชสมุนไพรไทยเป็นที่นิยมเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนมีการส่งเสริมให้ชุมชนหลายที่หันมาเพาะปลูกพืชสมุนไพร ทั้งในการใช้ในครัวเรือนและการปลูกเป็นสินค้าเศรษฐกิจเพื่อจำหน่ายนำไปผลิตเป็นยาต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ได้เห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพร จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยสมุนไพร ปีงบประมาณ 256๔”ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของพืชสมุนไพรไทย เพื่อนำมาซึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยเน้นสมุนไพรที่พบบ่อยใน ชุมชน เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม ว่านหางจระเข้ เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล

ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

0.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการดูแลรักษาด้วยสมุนไพร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเผยแผ่ความรู้ที่ได้รับให้กับชุมชนและคนรอบข้างได้

ประชาชนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้กับชุมชนและคนรอบข้างได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,550.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน จำนวน ๕๐ คน 0 20,550.00 -
  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่ผู้เกี่ยวข้อง   2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน   3. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรในการรักษาโรคให้แก่ประชาชน ตามเนื้อหาดังนี้     - สมุนไพรที่ใช้ดูแลสุขภาพในงานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งสามารถนำมาใช้ง่ายในครัวเรือน ทดแทน       ยาสามัญประจำบ้าน ทั้งยาทาภายนอก / ยากินใช้รักษาอาการเบื้องต้น ดูแลสุขภาพทั่วไป
        - สมุนไพรที่ใช้เป็นอาหาร
        - สมุนไพรในท้องถิ่นที่ได้จากการสำรวจพืชในชุมชนและมีองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์     - สมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช   ๔. สรุปและประเมินผลโครงการ   ๕. รายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล 2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ 3. ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการดูแล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 00:00 น.