กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างเกษตรกร และผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย

ตำบลทุ่งนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่ มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถชะล้างสารพิษที่ตกค้างออกมาได้ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจาก การบริโภคพืชผักและผลไม้ ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว หากเด็กรับประทานสารพิษที่มีการปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตร แต่การเกษตรส่วนใหญ่ยังชินต่อการใช้รูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน และใช้เป็นอาหารในครัวเรือน ลดค่าใช่จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานอาหารและผักปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดจากสารตกค้าง และเป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนและนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน และเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในระดับครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการเสริมสร้างเกษตรกร และผู้บริโภค ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชนนับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในทุกครัวเรือน ให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือน และขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑.วัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องนโยบาย กฎหมาย และการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์ เรื่องนโยบาย กฎหมาย และการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ข้อที่ ๒.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องขั้นตอนการเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสในเลือด ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสในเลือด และสามารถรู้ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสในเลือด ของตนเองได้ ข้อที่ ๓ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างเกษตรกร และผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างเกษตรกร และผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องนโยบาย กฎหมาย และการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องขั้นตอนการเจาะเลือดหาเอนไซม์ดคลีนเอสเทอเรสในเลือด ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องนโยบาย กฎหมาย และการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย
๒. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องขั้นตอนการเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสในเลือด
๓.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช


>