กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1-2 โรงพยาบาลเทพา

1.นางสาวสุจิตรา ลือเมาะ 081-7661134

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1-2 โรงพยาบาลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานควบคุมโรคไม่ได้

 

4.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดและสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าตำบลเทพา ปี 2563 ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน 461 คนควบคุมโรคไม่ได้ จำนวน 338 คน คิดเป็นร้อยละ 73.32 ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1 เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

1.อัตราผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40

25.00 40.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการคำนวณค่า BMI และน้ำหนักถูกต้อง

2.อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการคำนวณค่า BMI และน้ำหนักถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70

50.00 70.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการเลือกอาหารถูกต้อง

3.อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการเลือกอาหารถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50

35.00 50.00
4 4.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
  1. อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
40.00 50.00
5 5.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความอยากที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข
  1. อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีความอยากที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 90
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม สร้างสัมพันธภาพ ค้นหาตัวตน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สร้างสัมพันธภาพ ค้นหาตัวตน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ลงทะเบียน/ชั่งนน./วัดสส./รอบเอว/คำนวณBMI -ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ/ประเมิน stage of change
-รับสมุดบันทึกสุขภาพและบันทึกการกิน 3 วัน -วัดองค์ประกอบร่างกาย -ชี้แจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรม กิจกรรมที่ 1 - ค่าวิทยากรกระบวนการ 1 คน X 2ชั่วโมงx 500 บาท เป็นเงิน1,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 90 คนx1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าไวนิลโครงการ 450 บาท รวมเงิน 3,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 16 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัด 1.ผู้ป่วยมีทักษะในการคำนวณ BMI ถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับพฤติกรรมการกิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับพฤติกรรมการกิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
    • วิเคราะห์ผลการบันทึกอาหาร 3 วัน
    • ประเมินความต้องการพลังงานในแต่ละวัน
    • เรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ กิจกรรมที่ 2
  • ค่าวิทยากรเรื่องอาหาร 1 คน X 2 ชั่วโมง x 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 90 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ค่าวัสดุสาธิตเมนูอาหาร เช่น ผัก ปลา อาหารสำเร็จรูป 2,000 บาท รวมเงิน 5,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัด 2.ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
    • วิเคราะห์ผลการบันทึกอาหาร 3 วัน
    • ประเมินความต้องการพลังงานในแต่ละวัน
    • ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
    • เรียนรู้และฝึกกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสม กิจกรรมที่ 3
  • ค่าวิทยาเรื่องออกกำลังกาย 1 คน 2 ชั่วโมง X 500 บาท เป็นเงิน1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 90 คนx1 มื้อ x 25 บาท รวมเงิน 3,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัด 3.ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมถอดบทเรียนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประเมินความคิดและความรู้สึก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประเมินความคิดและความรู้สึก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
    • ประเมินภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสม
    • ถอดบทเรียนจากการเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามโปรแกรม
    • สรุปผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 4
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 90 คนx1 มื้อ x ๒๕ บาท
    • ค่าประดาษบรุฟ จำนวน 50 แผ่น X 5 บาท
    • อุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ปากกาเมจิก ดินสอสี กระดาษกาว 300 บาท รวมเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัด 4. อัตราผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40
5. อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีความอยากที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
2. เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
3. ผู้ป่วยได้รับการเข้าถึงบริการตรวจรักษาตามเกณฑ์มาตรฐาน


>