ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน
ชื่อโครงการ | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน |
รหัสโครงการ | 64-L8287-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลเทพา |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเดชา แซ่หลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายธนพล จรสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานควบคุมโรคไม่ได้ | 4.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดและสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าตำบลเทพา ปี 2563 ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน 461 คนควบคุมโรคไม่ได้ จำนวน 338 คน คิดเป็นร้อยละ 73.32 ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1 เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 1.อัตราผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 |
25.00 | 40.00 |
2 | 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการคำนวณค่า BMI และน้ำหนักถูกต้อง 2.อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการคำนวณค่า BMI และน้ำหนักถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 |
50.00 | 70.00 |
3 | 3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการเลือกอาหารถูกต้อง 3.อัตราผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการเลือกอาหารถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 |
35.00 | 50.00 |
4 | 4.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
|
40.00 | 50.00 |
5 | 5.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความอยากที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข
|
40.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,000.00 | 4 | 15,000.00 | |
1 - 16 เม.ย. 64 | กิจกรรม สร้างสัมพันธภาพ ค้นหาตัวตน | 0 | 3,700.00 | ✔ | 3,700.00 | |
19 - 30 เม.ย. 64 | กิจกรรมปรับพฤติกรรมการกิน | 0 | 5,250.00 | ✔ | 5,250.00 | |
1 - 31 พ.ค. 64 | กิจกรรมปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย | 0 | 3,250.00 | ✔ | 3,250.00 | |
1 - 30 มิ.ย. 64 | กิจกรรมถอดบทเรียนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประเมินความคิดและความรู้สึก | 0 | 2,800.00 | ✔ | 2,800.00 |
- เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
- เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
- ผู้ป่วยได้รับการเข้าถึงบริการตรวจรักษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 00:00 น.