กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกรด้วยสมุนไพรรางจืด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหมากล่าง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกรด้วยสมุนไพรรางจืด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหมากล่าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหมากล่าง ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์

นางสาวซันมา มูเก็ม ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย tel.0935833160

หมู่ 4,5,8,10,12 และ 13 ตำบลช้างขวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

90.00

เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ตำบลช้างขวา ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรที่ทำเกษตรสัมผัสสารเคมีโดยตรงมีจำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 และผู้ที่สัมผัสสารเคมีทางอ้อมมีจำนวน 1,560 คิดเป็นร้อยละ 37.5 ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติ และโรคต่างๆ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังส่งผลให้มีอาการผื่นแพ้ทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น
จากการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างของกลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ 2563 ผลการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างจำนวน 392คน พบว่าผลตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความเสี่ยง/ผลไม่ปลอดภัย จำนวน 271 คนคิดเป็นร้อยละ 69.13 ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเกษตรกรปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหมากล่าง ตำบลช้างขวา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันเกษตรกรปลอดภัยจากการใช้สารเคมี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรที่มีผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการแก้ปัญหาด้วยสมุนไพรรางจืด

เกษตรกรและผู้ที่สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผลอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการรักษาและตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำ

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 271
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสนอโครงการแก่คณะกรรมการกองทุนเทศบาลตำบลช้างขวา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับการอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าสารเคมีในเลือดเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ในปี 2563 มาทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 15 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 271 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจเลือด

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำเอกสารจัดซื้อ จัดจ้างเครื่องมืออุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  2. เตรียมเอกสารบันทึกผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เอกสารบันทึกขัอมูล และเครื่องมือที่พร้อมเพรียงในการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร และผู้สัมผัสสารเคมี ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร และผู้สัมผัสสารเคมี ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร และผู้สัมผัสสารเคมี - กระดาษโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 100 แผ่น จำนวน 6 กล่อง กล่องละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - เครื่องปั่นฮีมาโตคริต เป็นเงิน 60,000 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารเคมีโดยวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65300.00

กิจกรรมที่ 5 จัดบริการรักษาพยาบาลสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและทำการตรวจซ้ำ โดยการจ่ายสมุนไพรชาชงรางจืดและยาทิงเจอร์พญายอสำหรับผู้ที่มีอาการผื่นแพ้บริเวณผิวหนัง

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการรักษาพยาบาลสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและทำการตรวจซ้ำ โดยการจ่ายสมุนไพรชาชงรางจืดและยาทิงเจอร์พญายอสำหรับผู้ที่มีอาการผื่นแพ้บริเวณผิวหนัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จ่ายยาสำหรับผู้ที่มีค่าสารเคมีในเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย และจ่ายยาสำหรับผู้ที่มีผลข้างเคียง -แอลกอฮอล์ 95 %20 ลิตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-สมุนไพรพญายอเป็นเงิน 4,000 บาท
-ภาชนะบรรจุยา เป็นเงิน 5,000 บาท -ฉลากยา เป็นเงิน 3,000 บาท -ชาชงรางจืด จำนวน 300 ซองๆละ 50 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายที่ผลออกมาอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการรักษาโดยจ่ายยาสมุนไพรชาชงรางจืด
  2. กลุ่มเป้าหมายที่มีผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมีได้รับการรักษาโดยทิงเจอร์พญายอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มปลอดภัย กลุ่มไม่ปลอดภัย และกลุ่มเสี่ยง
  2. สรุปผลลัพธ์แต่ละกลุ่ม
  3. วิเคราะห์ผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการรักษาโดยใช้สมุนไพรเพื่อให้ค่าสารเคมีในเลือดกลับสู่สภาวะปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 7. รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
7. รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ได้รายงานผลการดำเนินงานในการทำโครงการแก่เทศบาลตำบลช้างขวา
  2. ได้รายงานผลการดำเนินงานในการทำโครงการแก่สาธารณสุขอำเภอ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วิเคราะห์เพื่อนำไปต่อยอดในการจัดทำโครงการต่อๆ ไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาโดยใช้สมุนไพรเพื่อให้ค่าสารเคมีในเลือดกลับสู่สภาวะปกติ


>