กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มสงสัยป่วย โรคความดัน เบาหวาน ตำบลยามู ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลยามู

พื้นที่เทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

70.00

สถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวมในประเทศไทย ภาระโรค เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้มาตรฐาน หลักเกณฑ์และรูปแบบ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ ที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสำคัญให้มีการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่สอดคล้อง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ ชาติระยะ 20 ปีด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้ง การปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) ว่าด้วยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน เพื่อเป็นทิศทางขับเคลื่อนสู่การลดปัญหาโรคไม่ติดต่อ โดยมีวิสัยทัศน์“ประชาชนสุขภาพดีปลอดจากภาระโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้”
ปัญหาหลักของการรักษาโรคเรื้อรังในประเทศไทย คือการที่ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนัก ว่าเป็นโรค และการที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคให้ลดลงมาตามเกณฑ์ปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าแนวโน้มของการไม่ตระหนักถึงการเป็นโรคของผู้ป่วยลดลง จากร้อยละ 72.4 ในปี พ.ศ. 2547 เหลือร้อยละ 44.7 ในปีพ.ศ. 2557 ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่ได้รับการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในปีพ.ศ. 2547 มาเป็น ร้อยละ 29.7 ในปีพ.ศ. 2557 สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญในประเทศไทย จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2558 พบว่าการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจของประชาชนไทยเพิ่มสูงขึ้น โดย ผู้ชายเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวสูงกว่าผู้หญิงเกือบเท่าตัวในเกือบทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นในกลุ่มที่อายุ มากกว่า 70 ปี มีอัตราการเสียชีวิตที่ไม่ต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งประเทศรวม 18,922 คน (คิดเป็น 28.9 คนต่อประชากรหนึ่งแสนราย) และรายงานการเสียชีวิตจาก โรคหลอดเลือดสมองรวม 27,884 คน (คิดเป็น 42.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนราย) หากสามารถควบคุมโรคเรื้อรังในประเทศไทยให้ได้ผลดีขึ้น จะช่วยลดอัตราการ เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้อย่างแน่นอน จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 374 คน ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด 159 คน คิดเป็น 42.51% มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง จำนวน 11 คน คิดเป็น 0.75 % ลดลงจากปี 62 ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 30 คน ปี 63 จำนวน 27 ราย ลดลง คิดเป็น 10.00 % (ผ่านตัวชี้วัด) เป็นผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี คิดเป็น 18.98 % (ไม่ผ่านตัวชี้วัด) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 1,045 คน ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด 394 คน คิดเป็น 37.70% มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 คน จากกลุ่มเสี่ยง จำนวน 22 คน คิดเป็น 4.55 % ลดลงจากปี 62 ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 78 คน ปี 63 จำนวน 64 ราย ลดลง คิดเป็น 17.95 % (ผ่านตัวชี้วัด) เป็นผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี คิดเป็น 33.88 % (ไม่ผ่านตัวชี้วัด) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังทั้งหมด 417 คน ได้รับการคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง 393 คน คิดเป็น 94.24 % (ผ่านตัวชี้วัด 90%) และผู้ป่วยที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ได้รับการคัดกรอง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด คิดเป็น ร้อยละ 100 % ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อ ทางตา จำนวน 4 คน ทางไต จำนวน 3 คน ควบคุมระดับนำ้ตาลในเลือดได้ไม่ดี จำนวน 2 ราย ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดี จำนวน 1 คน จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ผู้ดูแลต้องดูแลอย่างใกล้ชิด อาจเกิดความพิการ และเสียชีวิตได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

60.00 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

70.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวโรคเบาหวาน
และความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค
สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด
ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง(สงสัยป่วย)โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยง(สงสัยป่วย)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยง(สงสัยป่วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจวัดความดันโลหิต, วัดรอบเอว, วัดรอบสะโพก, เจาะน้ำตาลในเลือดและทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อติดตาม จำนวน 7 เครื่องๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 21,000 บาท
- ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อติดตามจำนวน 7 เครื่องๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทัลเพื่อติดตาม จำนวน 7 เครื่องๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง(สงสัยป่วย)ได้รับการติดตามที่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมิน
และแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง


>