กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID -๑๙) ระลอกใหม่

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID -๑๙) ระลอกใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

ศูนย์กักตัว LQ หมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ ,พื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

80.00
2 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

3.00

ด้วยสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลกด้วยปัจจุบันพบการระบาดของโรคระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะ กรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับมีการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นทื่ควบคุมสูงสุดซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการของโรคเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศไทยและแพร่ระบาดไปเกือบทุกจังหวัด ด้วยจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศมาเลเซียด่านท่าเรือตำมะลัง อ.เมืองสตูลและด่านวังประจัน อำเภอควนโดน
ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ ได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID) ในจังหวัดสมุทรสาครโดยมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยในพื้นที่จังหวัดสตูลได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้วจำนวน ๒ ราย และองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 67 อนุมาตรา 3 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับพระราชบัญญัติแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 อนุมาตรา 19 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้(๑๙)การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จัดเตรียมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ สถานที่กักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) 14 วัน ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ขององค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสริมมาตรการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ตามโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 จากการประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ แต่เนื่องด้วยได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากสถานบันเทิง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พนักงาน นักดนตรี และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายไปหลายพื้นที่ค่อนข้างเร็ว จากคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๗๒๖/๒๕๖๔ เรื่องมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙(COVID – ๑๙) จังหวัดสตูล ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๔ ได้ระบุว่าจากการติดตามและสอบสวนโรคของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข พบว่าการที่ผู้ติดเชื้อมิได้แสดงอาการของโรคทำให้เชื้อโรคแพร่ออกไปยังผู้สัมผัสใกล้ชิด และมีข้อมูลว่าเป็นเชื้อโรคสายพันธุ์ที่สามารถระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ จึงมีความจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคมิให้แพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยได้มีการออกคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๗๒๖/๒๕๖๔ เรื่องมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙) จังหวัดสตูล ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๔ ลงนามโดยนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
ทั้งนี้ มาตรการการเฝ้าระวังจึงมีความเข้มงวดมากขึ้น ประกอบกับกลุ่มเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญซึ่งมีพื้นที่ Local Quarantine จึงจำเป็นต้องมีมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ เพิ่มขึ้น ทั้งการรณรงค์ การจัดหาอุปกรณ์สำหรับป้องกันและควบคุมโรค อาทิ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ชุดป้องกัน(PPE)ฯลฯ และโดยเฉพาะการเฝ้าระวังความปลอดภัยในพื้นที่กักตัว Local Quarantine ซึ่งงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนมาก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องขอรับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่) เพื่อนำไปใช้ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

80.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

3.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสาร เรื่อง โควิด ๑๙

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสาร เรื่อง โควิด ๑๙
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชาสัมพันธ์ และลงพื้นที่สุ่มกิจการตลาด

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ พื้นที่ดำเนินกิจการตลาดมีความตระหนัก และให้ความร่วมมือตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 1 ลิตรๆละ 150 บาท จำนวน 100 ลิตร เป็นเงิน 15,000 บาท
    • ค่าชุดป้องกันเชื้อโรค (PPE) จำนวน 30 ชุดๆละ 500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
    • ค่าเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ขนาด 450 มล. จำนวน 100 ขวดๆละ 90 บาท เป็นเงิน9000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุ อุปกรณ์พร้อมในการสนับสนุนมาจรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39000.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน วันละ 1 คน จำนวน 150 วัน เป็นเงิน 45,000 บาท
    • ค่าอาหารผู้เข้ารับการกักตัว จำนวน 20 คนๆละ 14 วัน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
    • ค่าวัสดุอื่นๆ เช่น เชือกฟาง นำ้ยาทำความสะอาด ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและอำนวยความสะดวกต่อการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินโครงการ /รายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินโครงการ /รายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


>